วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัสดุเพาะขึ้นชั้น


         การกองวัสดุเพาะในโรงเรือน ขั้นตอนนี้ผู้ให้ความรู้ส่วนใหญ่เพียงแต่บอกว่าให้ปูฟางหนาเท่านั้น กองวัสดุเพาะหนาเท่านี้แล้วก็จบ จริง ๆ แล้วสำหรับผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ 80 เปอร์เซ็นต์ ล้มเหลวเพราะกองวัสดุเพาะในโรงเรือนไม่ถูกต้อง
        
             การปูฟางรองวัสดุเพาะ ในชั้นบนสุดให้ใช้ฟางหนากว่าชั้น อื่น ๆ กว่า 1-2 นิ้วฟุต และในชั้นล่างให้ใช้ฟางน้อยกว่าเช่นเดียวกัน เพราะความร้อนชั้นบนร้อนกว่าเนื่องจากความร้อนของหลังคา ทำให้ความชื้นน้อยกว่าครับ  การกองวัสดุต้องปูฟางลองให้ครบทุกชั้นก่อน จากนั้นให้กองวัสดุเพาะจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง โดยให้รดน้ำที่ฟางให้ชุ่มทุกชั้นแต่ไม่ให้หยดทิ้งมาก ก่อนกองวัสดุเพาะให้ทำทีละแถวหรือที่ละต๊งครับ
วัสดุเพาะมี 2 ส่วน คือส่วนที่ปูรองวัสดุเพาะ กับตัววัสดุเพาะ
วัสดุที่ปูรองวัสดุเพาะ
          ส่วนใหญ่จะใช้ฟางข้าว หากคุณมีไม่กี่โรงเรือนและไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน คุณควรจะมักวัสดุปูรองโดยนำฟางแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำขึ้นสะเด็ดน้ำ ให้แห้ง อัดลงในกระบะหมัก ฐานกว้างยาว ด้านละ 1 เมตร สูง 1 เมตร ด้านบนกว้างยาวด้านละ 80 ซ.ม. เพื่อให้ถอดกระบะออกได้ง่าย เหยียบอัดฟางให้แน่น แล้วถอดกระบะออก ใช้ E.M. 500 c.c. ผสมปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 กับปุ๋ยยูเรีย ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 น้ำหนัก 3 ขีด ผสมน้ำ 3 ลิตร รดให้ทั่วด้านบน คลุมผ้าทิ้งไว้ 2 คืน และก่อนนำไปใช้จะต้องทำการกลับกองเพื่อให้แก๊สแอมโมเนียระเหยออกไป การหมักวัสดุปูรองจะทำให้กองเพาะคุณสามารถเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มผลผลิตให้คุณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นประสบการณ์ที่ผมเคยใช้ครั้งแรกนะครับแต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะความขี้เกียจครับ

วัสดุเพาะ
          หลังจากที่คุณหมักวัสดุเพาะเรียบร้อยแล้ว หากคุณมีเครื่องตีป่น ก็ให้ตีป่นวัสดุเพาะ แต่ถ้าไม่มีในการกลับกองแต่ละครั้ง คุณจะต้องพยายามทำให้กากมัน  แกลบ และวัสดุอื่น ๆ เข้ากันให้มากที่สุด การตีป่นวัสดุเพาะไม่ได้ทำให้คุณประหยัดวัสดุเพาะ แต่ประหยัดแรงงานในการกลับกองเพาะ หากคุณทำโรงเรือน 5 โรงเรือนขึ้นไปควรจะมีไว้ใช้
ปกติวัสดุปูรองเป็นแหล่งเก็บความชื้นให้กับกองเพาะ หากปูรองน้อยเกินไปจะทำให้กองเพาะแห้ง ปูมากไปไม่มีผลเสียแต่เปลือง ปกติให้ปูรองหนา 4-5 นิ้ว ทุกฤดู หลักจากปูเรียบร้อยแล้วให้รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นให้ปูวัสดุเพาะทับหน้า ส่วนว่าจะหนาเท่าไร ขึ้นอยู่กับอายุการหมักวัสดุเพาะ ชนิดของวัสดุเพาะ ความชื้นของวัสดุเพาะ และอุณหภูมิของอากาศ ปกติให้กองหนา 4-5 นิ้ว แล้วให้จับอุณหภูมิในกองเพาะตอนตี 4 หรือตี 5 ว่าอุณหภูมิในกองเพาะสูงถึง 41 องศาหรือไม่ (ไม่ใช่อุณหภูมิภายในโรงเรือน) ถ้าไม่ได้ให้กองเพิ่มให้หนาขึ้น หากอุณหภูมิภายในกองเพาะน้อยกว่า 38 องศา จะทำให้เห็ดเกิดน้อยมาก ถ้าหมักวัสดุเพาะถูกต้องกองวัสดุเพาะหนาเพียงพอ จะสามารถเก็บดอกเห็ดได้ 2 - 3.5 ก.ก. ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บเห็ด หากเก็บเห็ดแค่ 2 รอบจะได้ไม่น้อยกว่า 2 – 2.5 ก.ก. ต่อตารางเมตรครับ
หลังจากปูวัสดุเพาะแล้ว ให้ปิดโรงเรือนให้สนิท เพื่อเลี้ยงเชื้อราต่อ อุณหภูมิในโรงเรือนจะอยู่ประมาณ 42-50 องศา ถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง จะเมื่อเห็นว่าวัสดุเพาะเป็นผ้าบาง ๆ ตามผิววัสดุเพาะคล้ายสำลีอยู่ทั่ว ถือว่าใช้ได้ จำนวนวันที่เลี้ยงเชื้อราให้ดูจากผ้าบาง ๆ เกิดขึ้นทั่วแล้ว ผ้าจะขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในโรงเรือนเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 2-3 วัน


 
ตอนต่อไปจะพูดถึงวิธีการอบไอน้ำฆ่าเชื้อ อันนี้เป็นพระเอกของงานเพาะเลี้ยงเห็ดแบบโรงเรือนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น