วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เสริมเรื่องการใช้ฟืนอบเห็ดฟาง

 ขอเสริมอีกนะครับจะได้เข้าใจและง่ายต่อการปฏิบัติ
          ฟืนที่ใช้ในการอบเห็ดฟางนะครับถ้าเป็นแถวบ้านของผู้เขียนยังพอหาได้นะครับผมเห็นบางที่ที่ผมไปดูอะครับผมเห็นเขาใช้ยางรถยนต์ในการอบ  ซึ่งผมก็เคยลองใช้นะครับก็ถือว่าดีครับในจังหวะที่เรากำลังเร่งไฟตอนเติมน้ำครั้งแรกตอนที่วัสดุเพาะยังไม่สุก ถ้าไม่เร่งไฟไว้อุณหภูมิจะลดแบบฮวบฮาบเลยนะครับผมเลยใช้ยางรถมอเตอร์ไซด์เร่งไฟ ผลที่ได้รับครับเวลาแคะจมูกจะมีเขม่าดำๆติดมือออกมา  แต่อย่าเอะไปนะครับผมมีวิธีเร่งไฟแบบง่ายๆตอนเติมน้ำ
          วัสดุที่ใช้หาได้ง่ายๆครับ  หาตอไม้ไผ่ครับมาเก็บไว้เยอะๆ ให้เป็นลูกไฟ  ทำให้ไฟลุกดีเหมือนกันเวลาเติมน้ำก็ยัดเข้าไปในเตาอบ เมื่อกากข้างในสุกอุณหภูมิในโรงเรือนจะคงที่แต่ เราก็ต้องดูฟืนเรื่อย ๆ นะครับ ทำไมต้องดูเรื่อยผมมีประสบการตรงครับ
          เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาครับผมก็อบเห็ดธรรมดานี่แหละเมื่อได้อุณหภูมิแล้ว (70 องศา)ผมปล่อยให้ไหลไปอีก 2 ชั่วโมง ผมยัดฟืนใส่เตาไว้แล้วไปกินข้าวที่บ้านประมาณ20-30 นาที กลับมาครับ ผมเห็นไฟกำลังไหม้กอไผ่ที่อยู่ใกล้ ๆ กับโรงเห็ด  และไม้ไผ่ไม้ยูคาที่ผมกองไว้แต่โรงเห็ดกำลังลามขึ้นแสลม   เห็นครั้งแรกผมทำอะไรไม่ถูกครับเลยคิดว่าต้องเอาน้ำมาฉีดไปดูก๊อกน้ำโดนไฟไหม้แตกเรียบร้อยฉิบหายแล้วคราวนี้ !  เพราะไฟไหม้เป็นวงกว้าง ซึ่งทางหนึ๋งกำลังจะไหม้โรงเห็ด ทางหนึ่งก็กำลังจะถึงกองฟาง  อีกทางหนึ่งกำลังไหม้เข้าสวนคนอื่นซึ่งมีบ้านอยู่  อีกทางหนึ่งก็กำลังเข้าสวนยูคาเขา  คิดดูนะครับเดือนเมษา แล้งขนาดไหนทั้งใบไม้แห้งเอย ใบไผ่เอย  จึงบอกตัวเองใจเย็นๆ
 ตรงไหนไหม้ควรดับก่อนน่าจะเป็นโรงเห็ดของเราก่อนแหละเพราะกำลังไหม้แล้ว มองดูไม้ไผ้กับยูคาที่ดัดไว้น่าจะไม่ทันจึงปล่อยให้ไหม้ซะให้สะใจ  มองดูกอไผ่นี่ก็ไม่อันตรายเท่าไรมองดูทางไหนไม่มีคนผ่านมาเลย มองไปที่สวนเขา   อ้าวมันกำลังจะไหม้บ้านเขาแล้วต้องไปดับก่อนแล้วก็ไปดับที่กองฟางโดยใช้ใบไม้สดตีดับเอา

 
จากนั้นก็ไปที่สวนยูคาพอดีมีเด็กผ่านมาเลยบอกให้ไปเรียกคนที่อยู่ใกล้ๆ มาดับช่วย แล้วคนไม้รู้มาจากไหนครับมาดับไฟช่วยกันค่อยโล่งใจขึ้นมาหน่อย
           เกือบฉิบหายเหมือนกันนะครับใครจะคิดว่าไปแป๊บเดียวจะอลังการได้ขนาดนี้  ก็ขอเตือนทุกท่านนะครับว่าอย่าประมาทจะไปไหนดูฟืนดูไฟให้ดี ๆ การอบเห็ดเดี๋ยวนี้เขามีการอบโดยแกสหุงต้มซุึ่งเตาแบบนี้ราคาไม่แพง 8000 กว่าบาท ผมเห็นอยู่อยุธยา  ซึ่งเจ้าของเขาบอกว่ายินดีให้แบบไปทำเอง โดยไม่คิดเงิน หรือจะสั่งซื้อกับเขาก็ได้ 
วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ คอมเม้นท์กันบ้างนะครับไม่อยากพูดคนเดียว



วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 การอบไอน้ำฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
                    หลังจากเลี้ยงเชื้อราจนได้ที่แล้ว ให้เริ่มงานในตอนเช้ามืด โดยฉีดน้ำลดวัสดุเพาะให้ชุ่มแต่ไม่ให้ถึงขนาดน้ำไหลหยดลงมาใต้ชั้นเพาะมากนัก เพราะจะทำให้เสียธาตุอาหารไปกับน้ำ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการอบไอน้ำ ไม่ค่อยมีผู้อบรมรายใดให้ความรู้ไว้ การให้น้ำจะเป็นการใช้น้ำเป็นสื่อในการนำความร้อนเข้ากองเพาะ ในกรณีที่ความชื้นในกองเพาะไม่พอ และมีการกองวัสดุหนามาก ถ้าไม่ให้น้ำจะอบไอน้ำไม่เข้าถึงข้างในกองเพาะหรือให้เข้าถึงก็จะเสียเวลาในการอบไอน้ำนานมาก ๆ
                    การอบไอน้ำไม่เข้าถึงกองเพาะจะทำให้พอเก็บเห็ดไปเกิน 10 วันจะมีปัญหา เรื่องวัชเห็ดกับแมลงไร อีกอย่างการอบไอน้ำเป็นการไล่ความชื้นส่วนเกินออกจากกองเพาะด้วย ส่วนอุณหภูมิที่จะใช้ในการอบให้ใช้อุณหภูมิสูงสุดของกองเพาะตอนหมักวัสดุเพาะ (สมมุติ 55 องศา) บวกด้วย 10 องศา (เป็น 65 องศา) ในกรณีที่เก็บเห็ดรอบเดียวคือ 5-7 วัน ให้อบนาน 3 ช.ม. (โดยเริ่มจับเวลาตอนจับอุณหภูมิได้สูงถึง 65 องศา และเมื่อทำอุณหภูมิสูงได้แล้วต้องดูแลเชื้อเพลิง อย่าให้อุณหภูมิลดลงระหว่างจับเวลา) หากเก็บเห็ดรอบสองด้วย ประมาณ 10-14 วัน ต้องอบนาน 5 ช.ม. หากเก็บเห็ดนานกว่านั้นให้อบที่ 6 ช.ม. ในกรณีที่ใข้ฝางปูรองวัสดุเพาะ ถ้าอบไอน้ำไม่ถูกต้อง จะเริ่มมีปัญหาเรื่องแมลงไร เมื่อเก็บเห็ดเลย 12 วัน แต่ในกรณีใช้ทลายปาล์ม จะไม่ค่อยมีปัญหา 

                    เรื่องแมลงไรนี้บ้างคนไม่เข้าใจปัญหา ทำให้ต้องเลิกเลี้ยงไปเลยก็มี ในความเห็นของผม ถ้าเริ่มมีไรก็ควรจะรื้อทิ้งได้ แต่บางที่เห็ดมันยังออกมากอยู่ เกิดความเสียดาย ให้ใช้สารคาร์บาริล ชื่อการค้า เซฟวิน85 หรือ เอส85 ฉีดพ่นบนแปลง สารนี้ไม่มีพิษในสัตว์เลือดอุ่น แต่เป็นพิษต่อปลา และในตัวเห็ดก็มีสารหุ้มตัวมันเอง ถ้าผู้บริโภคล้างน้ำก่อน ก็แทบไม่มีสารพิษที่ตกค้างในเห็ดเลย และถ้าคุณขยันให้ใช้ตะไคร้ ทั้งรากต้นและใบ 1 ส่วน กระเพราะใบและดอก 1 ส่วน โดยน้ำหนัก นำมาตำให้ละเอียด แช่ในน้ำ E.M. มักไว้ 2 คืน กรองเอาน้ำที่ได้ 1 ส่วนผสมน้ำ 5 ส่วน นำมาใช้ฉีดพ่น เนื่องจากพืชทั้ง 2 ชนิดมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งแมลงไม่ชอบกลิ่นจะใช้ไล่แมลงได้หลายชนิดครับ โดยให้ฉีดพ่นตั้งแต่เก็บเห็ดได้ 7 วันให้ฉีดทุก 2 วัน เพื่อเป็นการกลบกลิ่นพืช อันนี้ถ้าใครแก้ปัญหาไรไม่ได้ ต้องเพิ่มขั้นตอนงานตัวนี้ แต่ควรจะเน้นการอบไอน้ำที่อุณหภูมิสูงขึ้นและระยะเวลาการอบไอน้ำให้ยาวขึ้นมากกว่า การอบไอน้ำที่ถูกต้อง ถ้าอบได้อุณหภูมิสูงพอและเวลาที่เหมาะสม เมื่ออบไอน้ำเสร็จตอนเข้าไปในโรงเรือน เพื่อให้หัวเชื้อจะรู้สึกหอมครับ ถ้าไม่หอมก็แสดงว่ายังอบไอน้ำได้ไม่นานพอหรือที่อุณหภูมิไม่สูงพอ ในครั้งหน้าต้องเพิ่มครับ  
                    การวัดอุณหภูมิในโรงเรือน ให้ใช้ที่วัดแบบที่เป็นหลอดแก้ว ราคาประมาณ 100 บาท เสียบเข้าไปภายในโรงเรือน ให้วัดสูงกว่าพื้น 1 เมตร โดยไม่ไห้ส่วนปลายปรอทสัมผัสถูกผนังโรงเรือน
จากนั้นให้รอจนอุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลงเหลือ 38-40 องศาให้ทำการให้หัวเชื้อ อย่าให้หัวเชื้อในระหว่างที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำกว่านี้ เพราะจะทำให้เส้นใยเดินไม่ดี และถ้าให้หัวเชื้อในขณะที่อุณหภูมิในโรงเรือนสูงกว่า 42 องศา ผู้ให้หัวเชื้อก็จะรู้สึกไม่สบายตัว และเชื้อก็อาจจะตายเพราะอุณหภูมิในกองเพาะสูงจะกว่าอุณหภูมิของโรงเรือน 

                    หัวเชื้อต้องพอแก่พอดีใช้ ถ้าใยเดินไม่เต็มถึงก้นถุงจะได้เส้นใยเห็ดน้อย เห็ดที่เกิดจากเส้นใยก็น้อยตาม ถ้าเป็นสีน้ำตาลแล้ว จะได้เส้นใยน้อยแต่เห็ดสามารถเกิดได้เลยจากวัสดุของหัวเชื้อ ไม่ได้เกิดจากการเดินของเส้นใย ทำให้ต้องใช้เป็นปริมาณมากคือ 1.5 ถุง ต่อตารางเมตร ปกติใช้ 0.8-1 ถุงต่อตารางเมตร
                  หมดเวลาครับ เอาไว้ตอนหน้าจะพูดต่อเรื่องการให้หัวเชื้อครับ อย่าลืมแนะนำพูดคุยกันบ้างนะครับ ไม่อยากพูดคนเดียว


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัสดุเพาะขึ้นชั้น


         การกองวัสดุเพาะในโรงเรือน ขั้นตอนนี้ผู้ให้ความรู้ส่วนใหญ่เพียงแต่บอกว่าให้ปูฟางหนาเท่านั้น กองวัสดุเพาะหนาเท่านี้แล้วก็จบ จริง ๆ แล้วสำหรับผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ 80 เปอร์เซ็นต์ ล้มเหลวเพราะกองวัสดุเพาะในโรงเรือนไม่ถูกต้อง
        
             การปูฟางรองวัสดุเพาะ ในชั้นบนสุดให้ใช้ฟางหนากว่าชั้น อื่น ๆ กว่า 1-2 นิ้วฟุต และในชั้นล่างให้ใช้ฟางน้อยกว่าเช่นเดียวกัน เพราะความร้อนชั้นบนร้อนกว่าเนื่องจากความร้อนของหลังคา ทำให้ความชื้นน้อยกว่าครับ  การกองวัสดุต้องปูฟางลองให้ครบทุกชั้นก่อน จากนั้นให้กองวัสดุเพาะจากชั้นบนลงมาชั้นล่าง โดยให้รดน้ำที่ฟางให้ชุ่มทุกชั้นแต่ไม่ให้หยดทิ้งมาก ก่อนกองวัสดุเพาะให้ทำทีละแถวหรือที่ละต๊งครับ
วัสดุเพาะมี 2 ส่วน คือส่วนที่ปูรองวัสดุเพาะ กับตัววัสดุเพาะ
วัสดุที่ปูรองวัสดุเพาะ
          ส่วนใหญ่จะใช้ฟางข้าว หากคุณมีไม่กี่โรงเรือนและไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน คุณควรจะมักวัสดุปูรองโดยนำฟางแช่น้ำ 1 คืน จากนั้นนำขึ้นสะเด็ดน้ำ ให้แห้ง อัดลงในกระบะหมัก ฐานกว้างยาว ด้านละ 1 เมตร สูง 1 เมตร ด้านบนกว้างยาวด้านละ 80 ซ.ม. เพื่อให้ถอดกระบะออกได้ง่าย เหยียบอัดฟางให้แน่น แล้วถอดกระบะออก ใช้ E.M. 500 c.c. ผสมปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 กับปุ๋ยยูเรีย ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 น้ำหนัก 3 ขีด ผสมน้ำ 3 ลิตร รดให้ทั่วด้านบน คลุมผ้าทิ้งไว้ 2 คืน และก่อนนำไปใช้จะต้องทำการกลับกองเพื่อให้แก๊สแอมโมเนียระเหยออกไป การหมักวัสดุปูรองจะทำให้กองเพาะคุณสามารถเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มผลผลิตให้คุณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นประสบการณ์ที่ผมเคยใช้ครั้งแรกนะครับแต่ปัจจุบันไม่ใช้แล้วเพราะความขี้เกียจครับ

วัสดุเพาะ
          หลังจากที่คุณหมักวัสดุเพาะเรียบร้อยแล้ว หากคุณมีเครื่องตีป่น ก็ให้ตีป่นวัสดุเพาะ แต่ถ้าไม่มีในการกลับกองแต่ละครั้ง คุณจะต้องพยายามทำให้กากมัน  แกลบ และวัสดุอื่น ๆ เข้ากันให้มากที่สุด การตีป่นวัสดุเพาะไม่ได้ทำให้คุณประหยัดวัสดุเพาะ แต่ประหยัดแรงงานในการกลับกองเพาะ หากคุณทำโรงเรือน 5 โรงเรือนขึ้นไปควรจะมีไว้ใช้
ปกติวัสดุปูรองเป็นแหล่งเก็บความชื้นให้กับกองเพาะ หากปูรองน้อยเกินไปจะทำให้กองเพาะแห้ง ปูมากไปไม่มีผลเสียแต่เปลือง ปกติให้ปูรองหนา 4-5 นิ้ว ทุกฤดู หลักจากปูเรียบร้อยแล้วให้รดน้ำให้ชุ่ม จากนั้นให้ปูวัสดุเพาะทับหน้า ส่วนว่าจะหนาเท่าไร ขึ้นอยู่กับอายุการหมักวัสดุเพาะ ชนิดของวัสดุเพาะ ความชื้นของวัสดุเพาะ และอุณหภูมิของอากาศ ปกติให้กองหนา 4-5 นิ้ว แล้วให้จับอุณหภูมิในกองเพาะตอนตี 4 หรือตี 5 ว่าอุณหภูมิในกองเพาะสูงถึง 41 องศาหรือไม่ (ไม่ใช่อุณหภูมิภายในโรงเรือน) ถ้าไม่ได้ให้กองเพิ่มให้หนาขึ้น หากอุณหภูมิภายในกองเพาะน้อยกว่า 38 องศา จะทำให้เห็ดเกิดน้อยมาก ถ้าหมักวัสดุเพาะถูกต้องกองวัสดุเพาะหนาเพียงพอ จะสามารถเก็บดอกเห็ดได้ 2 - 3.5 ก.ก. ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บเห็ด หากเก็บเห็ดแค่ 2 รอบจะได้ไม่น้อยกว่า 2 – 2.5 ก.ก. ต่อตารางเมตรครับ
หลังจากปูวัสดุเพาะแล้ว ให้ปิดโรงเรือนให้สนิท เพื่อเลี้ยงเชื้อราต่อ อุณหภูมิในโรงเรือนจะอยู่ประมาณ 42-50 องศา ถ้าทำทุกอย่างถูกต้อง จะเมื่อเห็นว่าวัสดุเพาะเป็นผ้าบาง ๆ ตามผิววัสดุเพาะคล้ายสำลีอยู่ทั่ว ถือว่าใช้ได้ จำนวนวันที่เลี้ยงเชื้อราให้ดูจากผ้าบาง ๆ เกิดขึ้นทั่วแล้ว ผ้าจะขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในโรงเรือนเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 2-3 วัน


 
ตอนต่อไปจะพูดถึงวิธีการอบไอน้ำฆ่าเชื้อ อันนี้เป็นพระเอกของงานเพาะเลี้ยงเห็ดแบบโรงเรือนครับ

พอดีมีพี่จากชัยภูมิโทรมาถามครับผมเห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาลงไว้ให้อ่านกันนะครับเผื่อจะได้เอาไปใช้ในการเพาะเห็ดฟาง คือพี่เขามีปัญหาเรื่องแมลงหวี่ในโรงเห็ดฟาง คือแมลงตัวเล็กๆทั้งหลายที่เกิดหลังจากเราตัดใยเห็ดแล้วซึ่งเกิดมากอยู่ประมาณ 4-6 วัน บางคนอาจจะเอายาฆ่าแมลง เช่น ไบก้อน ไปฉีดในโรงเห็ด มันไม่เป็นอันตรายต่อเห็ดแต่จะเกิดการสะสมในเห็ดซึ่งเป็นอันตรายต่อคนกิน วิธีง่าย ๆ คือเอาน้ำมัน พืช หรือน้ำมันหมูเอาไปทาหางใบตองกล้วยหรือใบไม่ที่ใญ่ ๆ หน่อยเอาไปแขวนไว้ตามมุม เมื่อแมลงหวี่บินก็จะติดเอง เห็นไหมครับง่ายนิดเดียวไม่ต้องใช้สารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อคน ถ้ามีปัญหาก็ดทรมาได้นะครับ ที่เบอร์ 086-2605289 E-mail - ty.manu_champ2012@hotmail.co.th หรือ facebook - ซาตาน นักล่า ยินดีนะครับที่มีคนอ่านผมกลัวว่าการทำเห็ดฟางจะหายไปไม่มีใครค่อยถ่ายทอดวิชา ผมเคยทำเห็ดฟางในตะกร้าลองทำดูมันเกิดนะครับแต่ไม่เยอะ แต่ที่ไปเห็นเขาทำจริงๆ เป็นโรงเรือน เห็นเห็ดของเขาแล้วมันเต็มโรงเรือนสอบถามเขาแล้วว่า 1 โรงเรือนได้เท่าไร พี่เขาบอกว่า5 - 6000 บาทต่อ 1 โรงเรือน (ราคาตอนนั้นราคาส่ง 40 บาทต่อกก.


ปัจุบัน ราคากลาง 100 บาทที่ตลาดไทนะครับ) ก็เลยคิดรายได้วันนั้นเลยว่า ถ้าเรามี 2 โรงเรือน เราจะมีรายได้เดือนละ 10000 กว่าบาท นี่ยังไม่รวมค่าอะไรต่างๆ เลยนะครับ กลับถึงบ้านสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟางเลย ยังไม่ได้ถามเขาเลยว่าเขาทำอย่างไร ซึ่งแต่ก่อนเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วตอนที่ผมอยากทำครั้งแรกต้องจ้างเขามาสอน


ซึ่งเป็นเงินหลายบาท อยู่นะครับ เวลามีปัญหาถามใครเขาก็ไม่ค่อยอยากบอกปัญหา แต่ผมมีความสุขครับจนถึงวันนี้ซึ่งคนที่มาสอนเขาหยุดทำไปแล้วแต่ผมยังทำอยู่ ขอเป็นกำลังใจให้นะครับสำหรับคนที่กำลังเริ่มต้น ผมรับรองว่าเมื่อทำได้แล้วจะมีความสุขครับ ให้ทำจากเล็กไปหาใหญ่ทำเรื่อย ๆ ซึ่งเห็ดฟางในตลาดรับไม่อั้น หรือกลัวไม่มีที่ส่งขายไม่ได้ โทรมาบอกกันถ้าไม่ไกลเกินไปผมยินดีจะไปรับถึงที่นะครับ เดี๋ยวคอยเพิ่มเติมนะครับในวันที่มีเวลาอัพเดต อีก

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ก่อนเอาวัสดุเพาะขึ้นชั้น


วันนี้ว่างขณะกำลังรอแฟนเข้าเวรที่คลินิอยู่ก็เลยมีเวลาอัพเดทเรื่องเห็ดฟางนะครับ ครั้งที่แล้วผมพูดถึงเรื่อง การหมักวัสดุเพาะเห็ดฟางนะครับ พรุ่งนี้ (6 กรกฎาคม 2556) ผมจะเอาเห็ดขึ้นชั้นนะครับสำหรับใครที่สนใจเรื่องการเพาะเห็ดฟางมาดูได้นะครับ วันนี้ผมเลยถือโอกาสพูดเรื่องการทำความสะอาดโรงเรือนก่อนเลย เพราะส่วนใหญ่ไม่มีใครพูดถึง ทั้ง ๆ ที่การล้างโรงเรือนมีผลต่อผลผลิตในรุ่นต่อไป ตัวผมเองตอนทำใหม่ ๆ ก็ไม่เข้าใจปัญหา มีวิธีการดังนี้ครับ
         อย่างที่เคยกล่าวในตอนต้น ๆ อาชีพการเกษตรนั้นจะต้องสะอาด ไม่เช่นนั้นจะสะสมโรคและแมลง อีกอย่างเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด สามารถสร้างเกาะป้องกันตัวเอง ให้ทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อดำรงสายพันธุ์ของตัวมันเอง บางชนิดสามารถรอฟักตัวได้เป็น 100 ปี บางชนิดทนอุณหภูมิสูงได้มากกว่า 120 องศา เพราะฉะนั้นการอบไอน้ำในโรงเรือนเป็นแค่เพียง ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้บางชนิด แต่บางชนิดจะอ่อนแอลงไม่สามารถเติบโตแข่งขันกับเห็ดฟาง สาเหตุที่เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องทำการพักโรงเรือน เนื่องจากต้องการให้โรงเรือนแห้ง ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อเขื้อโรค ทำให้การขยายตัวต่อไปเป็นไปได้น้อยลง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันยังคงมีตัวตนอยู่

วิธีปฏิบัติในการล้างโรงเรือน
1.ก่อนอื่นต้องทำการเปิดประตู หน้าต่างโรงเรือน ทุกด้านให้หมดก่อน ถ้าคุณสร้างโรงเรือนตามที่ผมบอกในตอนต้น (ตอนบอกให้สร้างโรงเรือนผมลืมบอกไปว่าต้องให้เปิดชายผ้าได้สูงอย่างน้อย 30 ซ.ม.) และเปิดชายผ้าทิ้งไว้

2.หลังจากเก็บวัสดุเพาะออกนอนโรงเรือนเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการล้างน้ำทันที เพราะถ้าปล่อยให้แห้งแล้วจะล้างยากยิ่งขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ล้างเลย
3.การล้างให้ใส่ถุงมือผ้า ถ้าให้ดี 2 ชั้นเลยครับ ฉีดน้ำพร้อมกับเอามือที่สวมถุงมือลูบทุก ๆ ที่ ต้องไม่ให้มีเศษวัสดุ หรือคาบสกปรกค้างอยู่บนชั้นวาง ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจมากนัก ส่วนใหญ่จะมีวัสดุเพาะหลงเหลืออยู่พอสมควร

4.ฉีดน้ำล้างผนังโรงเรือนทุกด้านให้หมด
5.ให้กวาดเศษวัสดุที่อยู่ตามพื้นให้หมด ถ้าไม่ได้เทพื้นปูนก่อนทำการล้างชั้นต้องปูผ้าพลาสติก เวลากวาดจะทำงานง่ายขึ้น
6.คุณจะต้องกวาดเศษวัสดุเพาะ ที่อยู่รอบโรงเรือนให้หมด (หมายถึงด้านหลังชายผ้า)
7.กวาดเรียบร้อยแล้วให้ฉีดน้ำชั้นให้เปียกน้ำอีกครั้งแล้วใช้ปูนขาวก่อสร้าง (อย่างอื่นผมลองแล้วไม่ค่อยดี สู้ปูนขาวก่อสร้างไม่ได้ แพงกว่านิดหน่อย) สะบัดโปรยไปให้เป็นละอองเหนือชั้นแต่ละชั้นให้ทั่ว ในปูนขาวมีแคลเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการยังยั้งเชื้อราได้หลายชนิด อีกทั้งตัวมันมีความเป็นด่างเมื่อโดนน้ำจะลดความเป็นกรดของไม้ที่ทำชั้นวาง เป็นการป้องกันราและรักษาชั้นวางให้ใช้งานได้นานขึ้น

8.ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งจะนานแค่ไหน ให้สังเกตไม้ที่ทำชั้นวางแห้งสนิทเป็นใช้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลมและความชื้นของอากาศ และลักษณะการก่อสร้างโรงเรือนเป็นสำคัญ
9.สุดท้ายก่อนนำวัสดุเพาะเข้าโรงเรือนให้ฉีดน้ำล้างปูนขาวอีกครั้ง ถ้ามีเห็ดไผ่ขึ้นบนชั้นไม่เป็นไรให้ใช้มือใส่ถุงมือลูบทิ้งไป
ถ้าทำดังนี้แล้ว โรงเรือนของคุณก็อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานโดยไม่มีผลเสียใด ๆ

อนึงปกติในการทำการเกษตรทั่ว ๆ ไป ปกติจะมีการฉีดยาฆ่าเชื้อราด้วย โดยเฉพาะในสวนส้มและมะนาว มะละกอ มะเขือเทศ องุ่น และผลไม้เปลือกบาง ในการทำเกษตรชีวภาพ จะใช้ปูนขาวก่อสร้าง 1 ข้อนโต๊ะ ปูนแดงกินกับหมาก 2 ช้อนโต๊ะ ถ้ามีน้ำด้วยก็ตักเติมเพิ่มไปได้ ผสมน้ำยาจับใบ(ไม่ใช่เปียกใบ เป็นคนละอย่าง ถ้าเปียกใบราคาจะกูกกว่าจับใบเกือบเท่าตัว) เกลือแกง 2 ข้อนโต๊ะ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อปัองกันเชื้อราและแบคทีเรีย ทุก 10-15 วันครั้ง ฉีดป้องกันนะครับ ถ้าเป็นโรคแล้วใช้ยาอะไรก็ฉีดแก้ไม่ได้ครับ ได้แค่บรรเทาหรือไม่ให้เป็นมากขึ้น อีกอย่างห้ามใช้ปนกับสารอื่น เพราะจะเข้มข้นหรือหักล้างฤทธิ์ยาตัวอื่น
ในพริก ถ้าใบหงิกให้เพิ่มปุ๋ยยูเรีย 10 ช้อนโต๊ะฉีดพ่น ใบจะร่วงหมดเพราะสารเข้มข้น จากนั้นจะแตกใบใหม่ สวยเหมือนเดิมครับ




วันนี้ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ

หลายสิ่งที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเดวิด มอยส์



เดวิด มอยส์ อาจจะถูกจับตามองเป็นอย่างมากกับฤดูกาลแรกของเขาในฐานะผู้สืบทอดตำแหน่งของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และเราเองต่างก็รู้ดีว่าคำตอบสำหรับปัญหาโลกแตกนั้นมันอยู่ที่ว่าเขาจะทำให้โอลด์ แทรฟฟอร์ด เป็นสถานที่สำหรับเก็บถ้วยรางวัลต่อไปเหมือนเดิมได้หรือเปล่า

แต่ก่อนนั้นเขาอาจจะยังไม่รู้ถึงเรื่องนี้ แต่เมื่อปีกว่าๆ มานี้ มอยส์ก็ถูกวางอนาคตเอาไว้แล้วในการเป็นตัวตายตัวแทนสำหรับแผนการรีไทร์ของเซอร์ อเล็กซ์

อันที่จริงเซอร์ อเล็กซ์ อาจจะเดินออกจากโอลด์ แทรฟฟอร์ด ไปก่อนหน้านั้นแล้ว หากว่าเขาพาทีมคว้าแชมป์พรีเมียร์ ลีก ในปี 2012 มาครองได้สำเร็จ ซึ่งนั่นจะเป็นการก้าวลงจากตำแหน่งในขณะที่ยังอยู่ในจุดสูงสุด แต่กลายเป็นว่า เซร์คิโอ อเกวโร่ ของแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ดันมายิงฉกถ้วยแชมป์ลีกจากมือทีมปีศาจแดงไปครองอย่างหน้าตาเฉย นั่นทำให้ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำเป็นจะต้องเดินหน้าลุยต่ออีกฤดูกาล

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ทีมเรือใบสีฟ้าได้เฮกันในวันสุดท้ายก็มาจากตัวของมอยส์ด้วย ขณะที่เหลืออีก 4 เกมให้ลงเล่น ผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตันก็พาลูกทีมบุกมาคัมแบ็คแบ่งแต้มจากโอลด์ แทรฟฟอร์ด กลับออกไปได้แบบเหลือเชื่อ ขณะที่เหลือเวลาในเกมอีก 8 นาที แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นฝ่ายขึ้นนำอยู่ 4 - 2 ซึ่งหากพวกเขาเอาชนะได้ก็จะถือว่าเข้าใกล้ตำแหน่งแชมป์เต็มทน

แต่ประตูจาก นิคิก้า เยลาวิช และ สตีเว่น พีนาร์ ก็ทำให้ 2 คะแนนในมือของทีมปีศาจแดงหลุดลอยไปต่อหน้าต่อตา และเซอร์ อเล็กซ์ ก็ยอมรับว่าผลเสมอ 4 - 4 จากเกมนี้เป็นผลการแข่งขันที่ทำให้ความหวังคว้าแชมป์ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต้องพังทลายลง

สปิริตนักสู้ของทีมจากเมอร์ซี่ย์ไซด์คือสิ่งที่มอยส์ได้สร้างให้กับลูกทีม ซึ่งมันก็ทำให้เซอร์ อเล็กซ์ รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก เขาเน้นย้ำว่าต้องการให้มอยส์เขามาแทนที่ของตัวเขาเองที่จะออกจากทีมไปในเดือนพฤษภาคม และก็คงจะตัดสินใจแบบเดียวนี้ในปีที่แล้ว หากว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนของเขา

อีกหนึ่งชัยชนะของเอฟเวอร์ตันในวันเปิดฤดูกาลที่สนามกูดิสัน ในเกมพบกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็เป็นการเพิ่มประวัติการทำงานที่ดียิ่งไปอีกให้กับมอยส์ แม้ว่าผลการแข่งขันในเกมดังกล่าวจะไม่ได้ส่งผลต่อการคว้าแชมป์ลีกทิ้งท้ายสำหรับเซอร์ อเล็กซ์ ก็ตาม

นับว่ามอยส์นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะทำให้แฟนบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ศรัทธาในตัวเขา พวกเขาจะต้องเชื่อว่ายุคใหม่นี้จะไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ความสำเร็จของทีมต้องขาดตอนไป หากคุณกำลังมองหาคนที่ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ประทับตราการันตีความสามารถ ก็คงจะไม่มีใครที่ดีไปกว่านี้อีกแล้ว

สำหรับแฟนแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด บางคนที่โตมาในยุคของผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษอาจจะตระหนักว่าทีมปีศาจแดงอาจกำลังเดินถอยหลัง แทนที่จะเร่งเกียร์ไปข้างหน้า

ชัยชนะในลีก 2 ครั้งล่าสุดของทีมในปี 2011 และ 2013 นั้น ทีมสปิริตอันแข็งแกร่งคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทีมคว้าแชมป์มาครองจากตำแหน่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ คุณภาพของเกมนั้นมันก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าในแง่ของความสนุกตื่นเต้นนั้นอาจจะไม่โดนใจแฟนบอลที่ชื่นชอบเกมบุกตามแบบฉบับของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

มันจึงเกิดความกลัวขึ้นในกลุ่มแฟนบอลปีศาจแดงว่าทีมอาจจะต้องตกเป็นฝ่ายเดินตามหลังบาร์เซโลน่าต่อไปเวทียุโรป รวมถึงแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และเชลซีในประเทศด้วย สำหรับยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็แสดงว่านี่เป็นงานที่ยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับสไตล์การทำทีมของมอยส์ และโอกาสที่ทีมจะได้เกิดใหม่อีกครั้งหลังพ้นยุคของเซอร์ อเล็กซ์ ที่กินเวลา 26 ปีก็ต้องสลายไป แต่ว่าจะมีใครอีกที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ควรมองหา?

หลังจากที่ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า พร้อมกลับมารับงานคุมทีม เขาก็เลือกไปรับตำแหน่งกับบาเยิร์น มิวนิค หลังแยกทางกับบาร์เซโลน่ามาพักใหญ่ๆ นั่นหมายความว่าเป้าหมายอันดับหนึ่งเป็นอันต้องถูกลบชื่อออกไปอย่างช่วยไม่ได้

หากว่าคุณกำลังมองหาคนที่มีความสำเร็จการันตีทั้งในประเทศอังกฤษและเวทียุโรปแล้วล่ะก็ โชเซ่ มูรินโญ่ สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้ครบถ้วน แต่มันก็เป็นเรื่องจริงที่ว่าเจ้าของฉายาใหม่สดๆ ร้อนๆ เดอะ แฮปปี้ วัน นั้นไม่ใช่คนที่เหมาะสมที่สุดที่จะเข้ามาทำงานในถิ่นโอลด์ แทรฟฟอร์ด

นับว่าเขาหลุดโผไปแล้ว คุณอาจจะหันไปมองคนที่พาทีมโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เข้าชิงถ้วยยุโรปอย่าง เจอร์เก้น คล็อปป์ แต่เขาก็เพิ่งประสบความสำเร็จในเยอรมันมาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้นเอง

ลองนึกย้อนไปเมื่อปี 2002 เมื่อเซอร์ อเล็กซ์ ประกาศเตรียมวางมือเป็นครั้งแรก เคล้าส์ ท็อปป์โมลเลอร์ ของไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น ก็เคยกลายเป็นตัวเก็งที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อ แต่ 12 เดือนต่อมา เลเวอร์คูเซ่นก็ไล่ท็อปป์โมลเลอร์ออกจากการเป็นผู้จัดการทีม ซึ่งนั่นจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคล็อปป์เหมือนกันหรือเปล่าก็ยังไม่มีใครรู้

มีเสียงสนับสนุน โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์ พอสมควร หลังจากที่ตำนานปีศาจแดงได้พาทีมโมลด์ของนอร์เวย์คว้าแชมป์ลีกได้ติดกัน 2 ฤดูกาล แต่นั่นก็ไม่ใช่ผลงานที่ดีเพียงพอที่จะทำให้เขามาทำหน้าที่ในถิ่นโอลด์ แทรฟฟอร์ด ได้ในตอนนี้ แม้ว่าแฟนๆ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะพร้อมอดทนรอคอยความสำเร็จ โดยมอบทั้งเวลา และศรัทธาในตัวเขาก็ตาม

ดังนั้นมันจึงต้องมาดูกันที่ประสบการณ์ในพรีเมียร์ ลีก รวมถึงการยืนระยะเป็นเวลานาน ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามอยส์มีคุณสมบัติข้อนี้เหนือกว่าใครหน้าไหนสำหรับการเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้

การทำงานของเขาที่เอฟเวอร์ตัน เขาอาจจะยังไม่สามารถพาทีมคว้าถ้วยแชมป์มาประดับสนามกูดิสันได้ รวมถึงยังไม่ได้ไปลุยเวทียุโรปแบบจริงๆ จังๆ แต่ก็นับว่ามีน้อยคนนักที่จะไม่เห็นด้วยสำหรับการแต่งตั้งเขาเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ผู้จัดการทีมปีศาจแดงต่อจากเซอร์ อเล็กซ์ ถือว่านั่นคือ 2 สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ยังเป็นจุดด่างพร้อยในประวัติการทำงานของเขา ซึ่งนั่นจะเป็นเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่สำหรับผู้มาใหม่จากเมอร์ซี่ย์ไซด์คนนี้

อย่างไรก็ตาม การเลือกมอยส์นั้นถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว และแฟนๆ ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็พร้อมกันแล้วด้วยสำหรับทีมที่ไร้ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



ประวัติส่วนตัว
ชื่อ เดวิด วิลเลี่ยมส์ มอยส์
อายุ 50 ปี
สถานที่เกิด ไบลธ์สวู้ด, กลาวโกว์, ประเทศสก็อตแลนด์

อาชีพนักเตะ
กลาสโกว์ เซลติก (1980-1983 ลงเล่น 24 เกม), เคมบริดจ์ ยูไนเต็ด (1983-1985 ลงเล่น 79 เกม ยิง 1 ประตู), บริสตอล ซิตี้ (1985-1987 ลงเล่น 83 เกม ยิง 6 ประตู), ชริวส์บิวรี่ ทาวน์ (1987-1990 ลงเล่น 96 เกม ยิง 11 ประตู), ดันเฟิร์มลิน แอธเลติก (1990-1993, ลงเล่น 105 เกม ยิง 13 ประตู), ฮามิลตัน อคาเดมิคัล (ลงเล่น 5 เกม), เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ (1993-1999 ลงเล่น 143 เกม ยิง 15 ประตู)

เกียรติประวัติในฐานะนักเตะ
คว้าแชมป์กับกลาสโกว์ เซลติก ในฤดูกาล 1981-1982 และได้ไปเล่นในเวทียุโรปกับสโมสร คว้าแชมป์ แอสโซชิเอท เมมเบอร์ส คัพ ในปี 1986 กับบริสตอล ซิตี้ และคว้าแชมป์ดิวิชั่น 3 กับเปรสตัน นอร์ธ เอนด์ ในฤดูกาล 1995-96

อาชีพผู้จัดการทีม
ผ่านการอบรมโค้ชครั้งแรกตั้งแต่อายุ 22 ปี
เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ มกราคม 1998 - มีนาคม 2002
โอกาสคุมทีมของเขามาถึงในปี 1998 เมื่อ แกรี่ ปีเตอร์ส ก้าวลงจากตำแหน่งที่เปรสตัน และมอยส์ก็ได้รับการโปรโมทให้เป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีมด้วยวัย 34 ปี เขาพาทีมรอดการตกชั้นในฤดูกาลแรกของเขาอย่างหวุดหวิด
เอฟเวอร์ตัน มีนาคม 2002 - มิถุนายน 2013
เปลี่ยนทีมที่ต้องดิ้นรนหนีการตกชั้นจนกระทั่งมาคว้าอันดับ 4 ในพรีเมียร์ ลีก คว้าตั๋วเตะรอบคัดเลือกแชมเปี้ยนส์ ลีก

เกียรติประวัติในฐานะผู้จัดการทีม
1999 - คว้าอันดับ 2 ในการเตะรอบเพลย์ออฟดิวิชั่น 2 เดิมกับเปรสตัน นอร์ธ เอนด์
2000 - คว้าแชมป์ลีก และได้เลื่อนชั้นไปเตะดิวิชั่น 1 กับเปรสตัน
2001 - เปรสตันเป็นรองแชมป์ในการเตะรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นจากดิวิชั่น 1
2009 - เอฟเวอร์ตันได้รองแชมป์เอฟเอ คัพ โดยแพ้ต่อเชลซีไป 1 - 2
รางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมผู้จัดการทีมลีก 2002-2003, 2004-2005, 2008-2009
ผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งเดือนของพรีเมียร์ ลีก 10 ครั้ง

ครอบครัว
แต่งงานกับพาเมล่าภรรยา ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 2 คนคือ เดวิด จูเนียร์ อายุ 22 ปี และลูกสาวลอเรน อายุ 19 ปี

งานอดิเรก
เป็นเจ้าของร่วมของม้าแข่งที่ชื่อ เดเสิร์ต คราย ซึ่งถูกฝึกโดย โดนัลด์ แม็คเคน มันเคยแข่งที่รายการเชลท์แน่ม เฟสติวัล มาแล้ว เขายังเป็นผู้สนับสนุนพรรคแรงงานของอังกฤษ และเคยหนุนหลัง แอนดี้ เบิร์นแฮม ซึ่งเป็นแฟนบอลเอฟเวอร์ตันในการลงชิงตำแหน่งผู้นำของพรรคมาแล้วในปี 2010

การซื้อตัวที่ดีที่สุด
เขามีพรสวรรค์ในการเสาะหาเพชรเม็ดงามจากลีกล่างๆ รวมถึงการเจรจาคว้าตัวนักเตะจากทีมเล็กๆ นับตั้งแต่ ทิม เคฮิลล์ ที่คว้าตัวมาจากมิลล์วอลล์แค่ 1.5 ล้านปอนด์ ไปจนถึง โจเลออน เลสค็อตต์, ฟิล จากีลก้า และ เลห์ตัน เบนส์ เขายังนำเอา มิเกล อาร์เตต้า, มารูยาน เฟลไลนี่ และ สตีเว่น พีนาร์ ข้ามน้ำข้ามทะเลมาเล่นในอังกฤษด้วย นอกจากนี้ก็ยังเป็นคนดัน เวย์น รูนี่ย์ ขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ด้วยอายุเพียงแค่ 16 ปีเท่านั้น

การซื้อตัวที่แย่ที่สุด
เปอร์ โครลดรุ๊ป 5 ล้านปอนด์จากอูดิเนเซ่ กองหลังชาวเดนมาร์กผู้นี้ลงเล่นไปเพียงแค่ 2 เกมในฤดูกาลที่ย่ำแย่ในถิ่นกูดิสัน พาร์ค ยังมี ดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ อีกคนที่เซ็นสัญญามาจากโลโคโมทีฟ มอสโกว์ ด้วยค่าตัว 8.9 ล้านปอนด์ แต่เขาก็ยิงให้กับทีมได้เพียงแค่ 8 ประตูเท่านั้น จากทั้งหมด 59 เกมที่ลงเล่น ก่อนที่จะย้ายกลับไปเล่นในรัสเซียเหมือนเดิม

บางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับเขา
การเข้ามารับตำแหน่งในถิ่นโอลด์ แทรฟฟอร์ด ในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มอยส์ได้เดินตามรอยเท้าของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งคู่ล้วนเคยฝึกฝนศาสตร์ลูกหนังกับดรัมคาเพล อเมเจอร์ส เอฟซี ในเมืองกลาสโกว์มาเหมือนกัน ซึ่งที่นี่ถือเป็นหนึ่งในโรงงานผลิตนักเตะที่ดีที่สุดของสก็อตแลนด์

คุณพ่อของมอยส์ซึ่งชื่อเดวิดเหมือนกันเคยเป็นโค้ชให้กับสโมสรแห่งนั้น และเขาก็ช่วยขัดเกลาฝีเท้าให้กับลูกชายของเขาที่นั่น ต่อมาเขาก็ได้กลายเป็นแมวมองในทีมเอฟเวอร์ตันให้กับลูกชายของเขาด้วย

เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเอ็มบีอี สำหรับการทำงานด้านการศึกษา หลังจากที่เขาใช้เวลา 40 ปีไปกับการเป็นผู้ช่วยให้กับวิทยาลัยแอนนี่ส์แลนด์ในเมืองกลาสโกว์ ซึ่งเป็นงานที่เขามีบทบาทร่วมกับดรัมคาเพล อเมเจอร์ส ด้วย

สไตล์การทำทีม
มีปรัชญาการทำงานที่ยอดเยี่ยม เขาจะตั้งมาตรฐานขึ้นมา และคาดหวังให้ทุกคนทำตามที่เขาต้องการ เชื่อในความจงรักภักดี ระเบียบวินัย และความเป็นมืออาชีพ พาทีมเล่นด้วยความแข็งแกร่ง ไล่บี้คู่แข่ง และทีมของเขามักจะทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

รสนิยมด้านแฟชั่น
เป็นตามแบบฉบับดั้งเดิม เรามักจะเห็นเขาใส่แจ็คเก็ตสโมสรเอฟเวอร์ตันอยู่บ่อยครั้งที่ข้างสนาม แต่เราก็ยังจะได้เห็นเขาในชุดสูทสีดำเท่ๆ ด้วยเช่นกัน

ขอเสริมอีกนิดส์นึงครับ


ด้วยความเคารพนะครับ ผมไม่อยากให้เกษตรกรรายใหม่ทุกท่านเข้าใจผิดว่า อาชีพทำการเกษตรนั้นง่าย และถ้าทำเกษตรพอเพียงก็จะทำให้ชีวิตราบรื่น สบาย ๆ
              ตลอดเวลา10 กว่าปี ที่ผมได้มาคลุกคลีกับการเพาะเห็ดฟางมีบทสรุปสำหรับท่านที่ไม่เคยทำมาก่อนว่า ไม่มีอะไรง่าย ถ้าคุณไม่ศึกษาการตลาดก่อน คุณจะเสียเปรียบพ่อค้าคนกลาง คำว่าการตลาดหมายถึง คุณต้องรู้ต้นทุนการผลิต วิธีการผลิตที่ประหยัดต้นทุน และจะนำไปขายให้ใคร ในราคาเท่าไหร่ อันนี้สำคัญที่สุดอื่น ๆ พอจะแก้ไขได้ แต่อันนี้ถ้าคุณไม่ศึกษาคุณจะขาดทุนแทบทุกครั้งที่ทำการเกษตร อีกประการหนึ่ง การทำการเกษตร ถ้าคุณทำงานตามความเห่อของตลาด จะทำให้ต้นทุนของคุณสูง ในขณะที่ผลิตผลของคุณมีความเสี่ยงกับราคาขายที่พร้อมจะตกลงเนื่องจากคนเลิกแตกตื่นหรือนิยม  การเข้าใจผิดเกี่ยวกับเกษตรพอเพียงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรที่ดูโฆษณาแล้ว เข้าใจผิดในวัตถุประสงค์ทำให้สิ่งที่คาดหวังไว้ไม่สำเร็จ เสด็จพ่อสอนให้เรารู้จักพอเพียง ไม่ใช้สอนคิดจะทำอะไร ๆ แค่พออยู่ได้ไปวัน ๆ สบาย ๆ หลักสำคัญที่สุดในการทำเกษตรพอเพียงแล้วจะสำเร็จก็คือ ต้องคำนวณรายจ่ายที่เราต้องใช้จ่ายในปัจจุบันและอนาคต ในรูปแบบที่ประหยัด แล้วถ้าเรามีรายได้อย่างเกษตรพอเพียงจะอยู่ได้ไหม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีลูก 2 คน กำลังเรียนอยู่มีค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ยต่อวัน 200 บาท ถ้าคุณจะทำเกษตรพอเพียง คุณจะต้องทำปลูกพืชกินเองเพื่อลดการซื้อ ที่เหลือขายแล้วต้องมีรายได้อย่างน้อย 200 บาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายของลูกที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต คนที่จะทำเกษตรพอเพียงได้ส่วนใหญ่ต้องไม่มีค่าใช้จ่ายประจำครับ และที่สำคัญต้องทำบนที่ดินตัวเองด้วย  อีกเรื่องหนึ่งการเริ่มทำการเกษตรใช่ว่าเพียงศึกษา จากการอ่านก็สามารถทำงานได้ การอ่านทำให้คุณมีความรู้ก็จริง แต่เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในการทำงานแบบเกษตรกรที่มีความรู้ การลงมือทำงานจริงจึงจะให้ความรู้ที่แท้จริงของงานนั้น ๆ ในทุกงานไม่มีผู้เขียนรายใดสามารถบรรยายลักษณะการทำงานได้มากกว่า 60เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือซึ่งส่วนใหญ่คุณต้องหาเอาจากการทำงานจริง และในการเริ่มต้นนั้นคุณจะต้องทำจากเล็กคือทำแต่น้อย ใช้เงินให้น้อยที่สุด อะไรไม่จำเป็นไม่ต้องซื้อหาอะไรใช้แทนได้ก็ใช้ไป ต่อเมื่อมีความรู้ความชำนาญแล้วจึงทำใหญ่ ถ้าคุณทำดังนี้คุณจะได้เริ่มทำงาน ไม่เช่นนั้นคุณก็จะอยู่ในภาวะเก็บข้อมูลอยู่อย่างนั้น
              เกี่ยวกับเรื่องเห็ด การทำเห็ดฟางจะว่ายากก็ยากถ้าไม่รู้ แต่ถ้ารู้แล้วอะไร ๆ มันก็ไม่ใช่ปัญหา ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างถ้าเตรียมการมาดี การเพาะเห็ดจะไม่มีปัญหาเลยทุกเรื่อง ไม่มีสิทธิ์ขาดทุน แต่ตราบใดที่คุณยังรู้ไม่หมดคุณก็ยังต้องเก็บเกี่ยวความรู้จากการทำงานจริงต่อไป การเริ่มต้นเพาะเห็ดให้เริ่มต้นจากการทำกองเตี้ย ทำ 2 แถว แถวละ 3-4 กอง เงินลงทุนเริ่มต้นไม่เกิน 700 บาท คุณลงมือทำเองเลยทุกขั้นตอน ทำไป ๆ สัก 10-20 เที่ยว ให้รู้จักนิสัยของเห็ด ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมในกองเพาะว่า อุณหภูมิแบบนี้ อากาศแบบนี้ ความร้อนกองเพาะแบบนี้ ความชื้นแบบนี้ มีผลกับเห็ดอย่างไร ไม่ต้องคำนึงถึงรายได้หรือค่าใช้จ่าย หาความรู้อย่างเดียว จากนั้นให้ทำโรงเรือนเล็กตามที่เคยบอกในตอนก่อนหน้านี้ ยังไม่ต้องสร้างเตา เอาถังน้ำ 200 ลิตร มาตั้งนอนวางบนอิฐแดงสูงจากพื้น 20-25 ซ.ม. เติมน้ำ120 ลิตร ให้รูใหญ่อยุ่ด้านบน รูใหญ่หาหางปลาใส่แล้วต่อเข้าสายยาง เวลาเริ่มต้นต้มน้ำให้พับสายยางไว้ พอน้ำเดือดสายยางที่พับจะกางออกไปเอง เท่านี้ก็พอแล้ว อย่าลืมล้างถังให้สะอาจก่อนใช้ด้วยนะครับ ใส่ฟืนต้มน้ำเอาไปก่อน ลงทุนเริ่มต้นถ้าต้องซื้อทุกอย่าง ประมาณ 3-4 พันบาท ทดลองทำไป 10-20 เที่ยว จนแน่ใจแล้วค่อยลงทุนทำจริง ถึงตอนนั้นคุณคงจะรู้แล้วว่าจะทำใหญ่แค่ไหนจึงจะรวยมากและรวยเร็ว
การทำเห็ดฟางคุณสามารถปรับความรู้ได้เร็วมาก เพราะว่าการเพาะในรอบหนึ่ง ๆ ใช้เวลา 15-25 วัน คุณใช้เวลาหาประสบการณ์การทำงานประมาณ 6 เดือน ก็ได้แล้ว ไม่เหมือนไม้ผล 1 รอบใช้เวลา 1 ปี ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณมีความอดทนที่จะทำงานเพื่อเรียนรู้ได้ไหม 6 เดือน มีเกษตรกรบางท่านแนะนำให้ปลูกเห็ดฟางกองเตี้ยก็พอ ลงทุนไม่มาก จริงครับ แต่มีความแตกต่างกันมากเลยครับ ในโรงเรือนขนาด 60 ตารางเมตร มีข้อแตกต่างดังนี้ครับ
1.คุณต้องทำกองเตี้ย 80 กอง จะเท่ากับ 1 โรงเรือน ใข้พื้นที่ทำงานมากกว่ากัน 5 เท่า
2. ใน 80 กองทำงานคนเดียว เหนื่อยมาก ๆ ไม่น่าจะทำงานได้ทัน แต่ 1 โรงเรือนทำคนเดียว สบาย ๆครับ
3.การควบคุมสภาพแวดล้อมกองเตี้ยทำได้ยาก ไปไหนไม่ได้เลย ฝนตกแดดออก ต้องคอยปรับสภาพแวดล้อมตลอด ไม่เช่นนั้นเสียหาย ทำ 1 โรงเรือน ใช้เวลาทำงานไม่เต็มวันเป็นส่วนใหญ่ครับ
4.การเก็บเห็ดกองเตี้ยคุณต้องเปิดชายผ้าคลุมกองเพาะทั้ง 80 กองทั้ง 2 ด้าน เสร็จแล้วต้องปิดให้ดีอีก ต้องคลุมฟางกันแดดอีก ใช้เวลา ไม่ต่ำ 4 – 6 ช.ม. แต่โรงเรือนแค่เปิดประตูเข้าโรงเรือนแล้วก็เก็บเห็ดได้แล้วใช้เวลาไม่ถึง 1 ช.ม. เสร็จครับ

5.ทำกองเตี้ยหน้าฝนขาดทุน หน้าหนาวไม่ได้กำไร หน้าร้อนพอได้ ทำโรงเรือนรายได้สม่ำเสมอเท่ากันครับ หน้าหนาวถ้าทำเป็นเงินดีมากแต่เกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟางโรงเรือนที่ไม่มีความรู้จะไม่มีรายได้ครับ
6.ถ้าพูดถึงความรู้ดีเท่ากัน การทำกองเตี้ย 80 กอง เก็บเห็ดได้ประมาณ 60 – 180 ก.ก. มากน้อยไม่แน่นอน ถึงมีฝีมือก็เป็นอย่างนี้ เพราะควบคุมสภาพแวดล้อมได้ยาก ทำเห็ดโรงเรือน เก็บได้ค่อนข้างสม่ำเสมอ 120-180 ก.ก. อยู่ที่ฝีมือดีแค่ไหน และถ้ามีมาตราฐานการทำงานดีเก็บเห็ดแต่ละครั้งที่เพาะ จะแตกต่างกันไม่เกิด 10-20 เปอร์เซ็นต์ ในทุกฤดูครับ
7.ทำเห็ดโรงเรือน คุณจะมีรายได้ 3-6 พันบาทต่อโรงเรือน ทั้งนี้มากน้อยขึ้นอยู่กับค่าแรงงาน แต่ทุก ๆ 3 โรงเรือน ถ้าจ้างแรงงานทุกขั้นตอนต้นทุนต่อโรงเรือนจะลดลงไป 500 -1000 บาทต่อโรงเรือน อันนี้สำคัญนะครับ ถ้าจะจ้างแรงงานต้องเพิ่มที่ละ 3 โรงเรือนต่อแรงงาน 2 คนครับ
 
    
8.การทำเห็ดกองเตี้ย คุณต้องคอยเปลี่ยนพื้นที่เพาะ หรือไม่ต้องเว้นช่วงให้ดินตากแดด เห็ดโรงเรือนแค่ล้างแล้วรอให้แห้งใช้ต่อได้แล้วครับ
9.ทำโรงเรือน 1 โรงเรือน ทำตามที่ผมเคยพูดถึงก่อนหน้านี้ ถ้าไม่เทปูน ซื้อของทุกอย่าง 5 พันบาท ใช้งานได้อย่างน้อย 2 ปี ถั่วเฉลี่ยค่าใช้จ่ายลงทุนโรงเรือน 100 บาท ต่อการทำเห็ด 1 ครั้ง
10.ขั้นตอนการเพาะเห็ดโรงเรือนยุ่งยากมาก ถ้าทำพลาดคือเสียหายทั้งโรงเรือน การแก้ไขปัญหาไม่ได้ช่วยอะไรมาก ถ้าเสียก็คือเสียทั้งหมดโรงเรือน ในกองเตี้ยขั้นตอนก็เพาะไม่มีอะไร เสียหายเป็นแถว
11.ค่าวัสดุเพาะและค่าใช้จ่ายอื่น 1 โรงเรือนใช้เงินลงทุน 3 พันบาท แพงกว่ากองเตี้ย เท่าตัว แต่กองเตี้ยใช้แรงงานมากกว่า 2 เท่าตัว


วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การหมักวัสดุเพาะ


วัสดุหลักที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง มีหลายชนิด แต่ที่แนะนำให้ใช้ในการเพาะ
เห็ดฟางแบบโรงเรือน มี 3 ชนิด คือ ทลายปาล์ม กากมันสำปะหลัง และขึ้ฝ้าย ส่วนวัสดุอย่างอื่นไม่แนะนำ เพราะมีธาตุอาหารน้อยกว่าทั้ง 3 ชนิด ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นวัสดุเพาะในเชิงพาณิชย์ แต่เนื่องจากแหล่งที่ผมเพาะเห็ด สามารถหากากมันสัมปะหลังได้โดยประหยัดต้นทุนที่สุด ผมจึงใช้ขี้ฝ้ายเป็นวัสดุหลัก ดังนั้นผมจึงถนัดการหมักกากมันสัมปะหลัง ซึ่งส่วนประกอบในการหมักได้แก่
 
1. กากมันสัมประหลัง ( 6 ตัน)
2. ยิปซั่ม  (6 กก.)
3. แร่ภูไมท์ (6 กก.)
4. EM  1 ลิตร
5. กากน้ำตาล 4ฝา
ุ6. ยูเรีย 3 กก
7. แกลบ ไม่ต่ำกว่า 6กระสอบ
8. รำ 6 ปี๊บ
9. ขี้วัว 6 กระสอบปุ๋ย
10. ถุงแดง 5 ถุง
11. ปูนขาว 6 กก.
       

วิธีการหมักวัสดุเพาะโดยใช้กากมันสัมปะหลังเป็นวัสดุเพาะ ที่ใช้ในการเพาะแบบโรงเรือน
1. ใช้คราดหรือคราดมือเสือตะกุยกากมันสัมปะหลังให้กระจายหนาประมาณ 15-20 เซ็นติเมตร โดยให้เป็นชั้น
2. เมื่อได้ชั้นที่ 1 กว้างประมาณ 4x4 เมตร  เอาวัสดุหมักทั้งหมดหว่านในกองหมักให้ทั่ว ไห้แกลบเป็นวัสดุสุดท้าย แล้วเอาฟางโรยบางๆ (ถ้ามี) จากนั้นให้เอาEMผสมกากน้ำตาลผสมน้ำ 200 ลิตร รดให้ทั่ว และทำชั้นต่อไป ขั้นตอนเหมือนกัน  ชั้นสุดท้าย( ประมาณ 4 ชั้น) ให้เอาผ้าใบ หรืผ้าฟางคลุมไว้ เป็นอันเสร็จ
3.การกลับกอง ให้กองวัสดุเพาะหนาเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นหนา 15 – 20 ซ.ม โดยแต่ละชั้นให้โรยอาหารเสริมตามสูตรของคุณที่มี เช่น ยิปซั่ม รำ ปูนขาว ปุ๋ย E.M ให้พอดีหมดตามส่วน โดยให้ความสูงของกองหมัก 70 ซ.ม ยาวไปเรื่อยจนหมดวัสดุเพาะ จับอุณหภูมิวัสดุเพาะว่าใช้เวลาเท่าไร จึงจะมีอุณภูมิสูงขึ้นถึง 50-55 องศา จะต้องกลับกองหมัก เพื่อให้กองหมักได้รับออกซิเจน และให้ก๊าซแอมโมเนีย(กลิ่นเหม็น)ที่เกิดจากการหมักจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการหมักเพื่อย่อยสลายธาตุอาหาร
4.จำนวนครั้งของการกลับกองวัสดุ ให้สังเกตจากว่า หากอุณหภูมิของกองหมักสูงขึ้นถึง 50 – 55 องศา โดยใช้เวลามากขึ้น ก็แสดงว่าขบวนการย่อยสลายของจุลรินทรีย์ ดำเนินไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว
การใข้วัสดุเพาะอื่นที่ไม่ใช่กากมันสัมปะหลังก็ใช้หลักการเดี่ยวกันครับ และเหตุผลที่ผมไม่ระบุจำนวนวันและจำนวนครั้งที่กลับกองเพราะ
1.อุณหภูมิของอากาศ ผมเคยเพาะเห็ดในฤดูหนาว อุณหภูมิของอากาศ 20 องศา การกลับกองแต่ละครั้งใช้เวลา 2 วัน ไม่เช่นนั้นอุณหภูมิในกองเพาะจะไม่สูงพอ อันนี้เป็นเหตุผลว่าทำไมเกษตรกรรุ่นเก่าจึงทำการเพาะเห็ดในฤดูหนาวไม่กำไร เหตุผลก็คือกองเพาะย่อยสลายไม่หมด เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศต่ำ ทำให้อาหารที่ย่อยสลายแล้วน้อย เห็ดก็เกิดได้น้อย กองเพาะอุณหภูมิไม่สูงพอ ก็ทำให้เห็ดเกิดน้อยครับ
2.ชนิดของวัสดุเพาะ และส่วนผสมของวัสดุเพาะ มีผลต่อความร้อนของกองเพาะ
3.เคยมีข้อสงสันกันระหว่างนักวิชาการกับนักปฏิบัติว่า จำนวนวันที่ใช้หมักเท่าไรจึงเหมาะ เพราะในทางปฏิบัติถ้าหมักกองเพาะไว้นาน จะทำให้เก็บเห็ดได้มากกว่ากองเพาะที่หมักไว้เพียงไม่กี่วัน ผลจากการสังเกตและศึกษาของผมสรุปได้ว่า หากหมักวัสดุเพาะมากวันเกินไป จะทำให้วัสดุเพาะขาดความร้อน ซึ่งจะมีผลต่อการสร้างเส้นใยเห็ด แต่การหมักไว้นานๆ จะเกิดจุลินทรีย์ ประเภทแอนทิโนมัยซิท(Actinomycetes) ซึ่งจุลินทรีย์ตัวนี้จะมีขนาดเล็ก สามารถแทรกตัวได้ดี เมื่ออบไอน้ำฆ่าเชื้อแล้วจะทำให้เส้นใยเห็ดเดินตามจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดดอกเห็ดเป็นจำนวนมากหรือเป็นพวง ซึ่งเรียกว่าเห็ดจับหัว การเพาะเห็ดในโรงเรือนส่วนใหญ่ ถ้าหมักวัสดุเพาะน้อยวันลักษณะการเกิดดอกเห็ดจะเกิดเป็นหัว ๆ แยกห่างจากกันแต่มีขนาดดอกโตมาก เพราะฉะนั้นถ้าคุณบริหารจัดการในเรื่องการหมักวัสดุเพาะไม่ดี จะทำให้คุณได้ดอกเห็ดจำนวนน้อย แต่มีขนาดใหญ่ ถ้าหมักมากวันจะทำให้คุณเก็บเห็ดได้เป็นพวง แต่ถ้ามากวันเกินไปก็จะทำให้เห็ดเกิดน้อยเนื่องจากกองเพาะขาดความร้อน
4.ในขบวนการหมักที่มากวัน จะทำให้วัสดุเพาะขาดความร้อน ทำให้ต้องกองวัสดุเพาะหนาขึ้น เพื่อให้อุณหภูมิในกองเพาะสูงเพียงพอที่จะสร้างเส้นใยเห็ด อันมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตาม ดังนั้นคุณจึงต้องทำการเปรียบเทียบกันว่า ถ้าคุณใช้วัสดุเพาะแบบนี้ หมักจำนวนเท่านี้วัน กองหนา เท่าไร จึงให้ผลผลิตสูงสุด บนต้นทุนต่ำสุด การทดลองในขั้นตอนนี้คุณจะต้องทำในโรงเรือนขนาดเล็กที่ผมเคยบอกในตอนต้น เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้ก่อน ลงทุนทำจริงครับ ในข้อที่ 4 นี้สำคัญมากนะครับ เพราะถ้าคุณสามารถประหยัดต้นทุนได้ 100 บาท โดยทำให้เห็ดเกิดเพิ่มขึ้นได้ 300 บาทต่อโรงเรือน จะทำให้ต่อโรงเรือนของคุณ สร้างรายได้ 400 บาทต่อครั้ง ถ้าทำหลายโรงเรือนในปี ๆ หนึ่ง เป็นเงินมากโขเลยนะครับ
ตอนต่อไปจะพูดถึงการกองวัสดุเพาะในโรงเรือน ซึ่งไม่ค่อยมีใครพูดถึงเท่าไร ทั้ง ๆ มันมีผลโดยตรงกับผลผลิตเห็ด การเพาะแบบโรงเรือนขั้นตอนทุกขั้นตอนมีความสำคัญเท่ากันหมดครับ ถ้าผิดก็คือเสียหายทั้งหมด หรือเก็บได้น้อย ต้องรู้ให้จริงก่อนลงทุนนะครับ การเพาะเห็ดแบบโรงเรือนผู้เพาะต้องเป็นมืออาชีพหรือมีความรู้เท่านั้นครับจึงจะทำงานสำเร็จ
 

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง 3

บ่อแช่วัสดุเพาะ หากคุณจะลงมือทำการเพาะเลี้ยงเห็ด จะต้องฝึกซ้อมฝีมือจากเห็ดกองเตี้ย และโรงเรือนชนาดเล็ก จนพอรู้แล้ว จากนั้นคุณต้องสั่งซื้อวัสดุเพาะที่ละมาก ๆ ทั้งนี้เพราะต้องเฉลี่ยค่าขนส่งให้ต้นทุนต่อหน่วยของวัสดุเพาะราคาลดลง ดังนั้นคุณจะต้องสร้างเพิงเก็บวัสดุเพาะ ถัดต่อจากเพิงเก็บก็จะเป็นบ่อแช่วัสดุเพาะ ติดกับบ่อแช่ก็เป็นลานปูนไว้หมักวัสดุ คุณต้องกลับกองวัสดุ หากคุณทำ 5 โรงเรือน บ่อแช่คุณจะมี 1 บ่อ แต่ลานปูนคุณต้องมีให้พอสำหรับกลับกองวัสดุ 4 กอง พูดแบบนี้อาจจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าทำงานจริงแล้ว เห็นหน้างานจะเข้าใจว่า ทำไมต้องมีลานปูนมากขนาดนั้น และลานปูนนี้จะต้องอยู่ไม่ไกลจากโรงเรือนจะได้ไม่ขนไกล ส่วนเตาอบไอน้ำให้ไว้กึ่งกลางโรงเรือนทั้งหลาย และต้องทำเพิงเพื่อเก็บเชื้อเพลิงด้วย เพื่อสะดวกในการลากสายส่งไอน้ำ โดยเตาต้องอยู่ห่างจากโรงเรือนทุกด้าน 2 เมตร โรงเรือนแต่ละโรงเรือนต้องอยู่ห่างกัน 2 เมตร ถ้าได้ 3 เมตรยิ่งดี จะต้องทำตามนี้นะครับ ไม่อย่างนั้นจะเสียเวลาและค่าแรงในการขนย้ายวัสดุเพาะสูงครับ ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กนะครับ ถ้าวางแผนไม่ดี ปีหนึ่งเสียค่าแรงเพิ่มเป็นเงินหลายหมื่นบาทเลย สำหรับ 5 โรงเรือน
บ่อแช่วัสดุในที่นี้สำคัญมากสำหรับผู้ที่ใช้ขี้ฝ้าย กับกากมัน เป็นวัสดุเพาะ ส่วนทลายปาล์ม ไม่มีความสำคัญ แค่ให้แช่ได้เป็นพอ แล้วเทลาดให้น้ำทิ้งออกหมดก็เป็นกันใช้ได้
สำหรับขี้ฝ่ายอัดแท่ง 1 แท่ง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 180 ก.ก. ต่อก้อน หนักมากถึงบอกว่าเพิงเก็บวัสดุจะต้องอยู่ใกล้บ่อแข่ คือออกมาก็แช่เลย ขนไม่ได้ไกลครับ
-ต้องใช้บ่อขนาด กว้าง 4 ยาว 5 เมตร พอสำหรับขี้ฝ้าย 2 ก้อน
-ขอบบ่อสูง เท่ากับอิฐปล็อก 2 ก้อนวางเรียงตามแนวนอน
-พื้นบ่อ ด้านหัวของบ่อจะต้องสูงกว่าท้ายบ่อ 20 เซนติเมตร
-ผนังด้านใน ทั้ง 4 ด้าน อย่าฉาบเป็นแนวดิ่ง ให้ฉาบให้ก้นบ่อหนากว่าขอบบ่อ 3 – 4 นิ้วฟุต แล้วเอียงขึ้นไปหาขอบบ่อด้านบน ทุกด้าน
-ทางออกของน้ำให้ใช้ท่อ pvc ขนาด 6 นิ้ว ทำฝาปิด โดยหาไม้เป็นแกนขนาดพอดีเสียบเข้าท่อ แล้วนำมาตอกติดกับไม้กระดานขนาดใหญ่กว่า 6 นิ้วนิดหน่อย ก่อนตอกติดกับไม้ให้ปูด้วยแผ่นยาง ฝาปิดนี้จะปิดด้านใน
-หลังช่องทางออกของน้ำ ให้ขุดหลุม กว้าง 30 ซ.ม. ยาว 60 ซ.ม. ลึก 30 ซ.ม. ฉาบปูนในหลุม หลุมนี้ทำแบบเดียวกับบ่อดักตะกอนในท่อระบายน้ำ โดยให้ด้านกว้างหันเข้าหาช่องน้ำที่ออกจากบ่อ ขอบอีก 3 ด้าน ให้ใช้ตาแกรง
พลาสติด ที่ขายในร้านวัสดุก่อสร้าง ทำเป็นโคลงไว้กันวัสดุเพาะล้นออก
เหตุที่ทำบ่อยุ่งยากขนาดนี้เพราะ ทั้งขี้ฝ้ายและกากมัน เวลาปล่อยน้ำออก
จะไม่ค่อยออก ทำให้วัสดุเพาะเปียกน้ำมากเกินไป ต้องทำการโกยออกจากบ่อ จึงจะใช้ได้ แต่ถ้าทำบ่อแบบนี้ ไม่ต้องเสียค่าแรงงานในการโกยวัสดุเพาะออกจากบ่อ ให้เปิดฝ่าท่อ pvc เอาตะกร้าสี่เหลี่ยม ที่มีรูห่าง ๆ วางขวางปากท่อด้านใน คอยหยิบวัสดุที่อุดออก เศษที่หลุดออกไป จะตกอยู่ในบ่อดัก ทำให้ไม่เสียของ จากนั้นก็คอยโกยวัสดุเพาะขึ้นด้านสูงของบ่อ ทิ้งไว้ในบ่อ 1 คืน ประหยัดเวลาไป 3 ช.ม. ต่อขี้ฝ้ายอัดแท่ง 2 ก้อน
ตอนต่อไปจะพูดเรื่องการหมักวัสดุเพาะครับ

ภาณุพงศ์


เชื้อเห็ดฟาง
สถานที่ที่เหมาะจะทำการเพาะเห็ดฟาง ก่อนที่คุณจะลงทุนทำการเพาะเลี้ยงคุณควรมีข้อควรพิจารณาในเรื่องสถานที่ ๆ คุณจะทำการเพาะเลี้ยงก่อนว่าเหมาะสมกับที่จะทำการเพาะเลี้ยงหรือไม่ ดังนี้คือ
1.น้ำ เห็ดฟางเป็นพืชที่ไม่ชอบเกลือแกง หากน้ำในแหล่งน้ำของคุณมีโซเดียม จะทำให้คุณไม่มีน้ำใช้ ส่วนน้ำบาดาล หรือน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณควรส่งตัวอย่างน้ำไปให้กรมวิชาการเกษตรตรวจดูว่า มีผลกับการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางหรือไป วิธีเก็บตัวอย่างน้ำ ดูได้ที่กรมวิชาการเกษตร ปัญหาเรื่องน้ำนี้เป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา เกษตรกรบางรายทำงานแทบตาย เหนื่อยสายตัวแทบขาด ก็ทำไม่ได้ดี เพราะไม่รู้ว่าน้ำที่ใช้มีผลทำให้สร้างใยเห็ดเกิดไม่ได้ และจับตัวเป็นตุ่มเห็ดไม่ได้ ถ้าค่า pH ต่ำ หรือมีสารไม่พึงประสงค์ เช่น โซเดียม หรือ คลอรีน หรือเป็นน้ำที่ปนเปื้อน และที่สำคัญที่สุดคือน้ำที่ใช้ในการตัดแส้นใยเห็ดสำคัญมาก ถึงใช้ไม่มากแต่มีผลกับผลผลิตเห็ดของคุณเลย
2.ภูมิอากาศ หากพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูก มีช่วงที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 27 องศา จะทำให้เห็ดไม่งามเท่ากับช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้น เห็ดฟางจึงไม่เหมาะจะปลูกภาคเหนือ หรือที่ ๆ มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ
3.ความชื้น ถ้าบ้านคุณฝนตกหนัก หรือมีปริมาณฝนตกบ่อย คุณจะมีต้นทุนในเรื่องค่าไฟฟ้าในการให้อากาศระบายความชื้น แต่เห็ดคุณจะได้ราคา
4.แรงงาน คุณต้องสามารถหาแรงงานได้ง่าย โดยเฉพาะแรงงานที่ทนต่อกลิ่นและแมลงไร เพราะตอนคุณทำงานใหม่ ๆ ปัญหานี้จะเกิดขึ้น ถ้าคนงานไม่ชอบจะบอกต่อๆไป ทำให้คนอื่นไม่อยากทำงานด้วย เพราะฉะนั้นคนงานชุดแรก ๆ ควรจะต้องมองให้ดี ถ้าโชคร้าย รับคนเรื่องมาก และปากมากด้วย คุณจะหาคนทำงานด้วยยาก และให้ดีการทำงานช่วงแรก ๆ ควรลงมือทำงานเองทั้งหมด โดยเริ่มจากการทำโรงเรือนเล็ก ๆ ขนาดกว้าง 2.5 ยาว 4 สูง 3.5เป็นโรงเรือนชั้นเดี่ยว สร้างในที่มีร่มเงา ชั้นวางวัสดุเพาะขนาด กว้าง 1.3 ยาว 2.5 จำนวน 4 ชั้น รายละเอียดอื่น ๆ ตามต่อในเรื่องการทำโรงเรือนและชั้น ซึ่งจะกล่าวภายหลัง เพื่อจะได้เห็นปัญหาก่อนลงทุนทำงานจริง
5.คุณควรทราบแหล่งรับซื้อเห็ดในท้องถิ่นของคุณ ส่วนใหญ่จะเป็นตลาดเช้า โดยเฉพาะร้านอาหาร หรือคนแถวบ้านคุณ หากคุณขายเห็ดให้เขาในราคาส่ง เขาซื้อแน่นอน ขอเพียงแต่คุณอย่านำเห็ดที่ไม่ได้คุณภาพไปให้เขา การขายผลผลิต ในช่วงแรก ๆ ที่คุณมีน้อยก็จะผ่านไปได้ หากคุณทำใหญ่ ต่อให้ต้องขนเข้ามาขายที่กรุงเทพยังคุ้มค่าเลยครับ ระยะทางไม่เกิน 300 ก.ม. อีกอย่างพ่อค้าขายส่งที่รับซื้อผลผลิตเกษตร ถ้าคุณบอกเขาเขาก็รับนะครับแต่อาจได้ราคาต่ำหน่อย ตลาดไท กับสี่มุมเมืองรับอยู่แล้ว การนำผลผลิตไปส่งขายที่ตลาดไท กับสี่มุมเมืองจะกล่าวถึงในภายหลัง
6.แหล่งระบายน้ำทิ้ง การเพาะเห็ดฟางจะมีน้ำเสียจำนวนมาก แต่โดยเฉพาะการใช้ทลายปาล์ม เป็นวัสดูเพาะ จะให้น้ำเสียที่ไม่สามารถนำไปทำประโยชน์ได้ แต่ถ้าเป็นวัสดุอื่น เช่น ขี้ผ้าย หรือ กากมัน น้ำเสียสามารถนำไปใช้กับต้นไม้ หรือบ่อเลี้ยงปลาได้เป็นอย่างดี เพราะมีไนโตรเจนสูงมาก ๆ
7.แหล่งกองวัสดุเพาะที่ใช้แล้ว ถ้าคุณทำใหญ่ คุณจะมีวัสดุเพาะใช้แล้วเป็นจำนวนมาก คุณจะต้องมีที่หมักวัสดุเพาะให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และยังนำมาเป็นอาหารเสริมให้เห็ดฟางได้อีกด้วย แต่ต้องเติมสารช่วย จะกล่าวถึงภายหลัง ถ้าวัสดุเพาะเป็นกากมัน คุณสามารถนำบางส่วนไปเลี้ยงปลาประเภทกินพืช เข่น ปลาตะเพียง ยี่สก ปลาจีน ปลาสวาย โดยการนำไปกองที่ขอบบ่อเลี้ยงปลาให้ปลาค่อย ๆ กินให้ยุบลงไป อย่าใส่ลงไปในน้ำจะทำให้น้ำเสีย อันนี้เป็นผลพลอยได้ครับ ถ้าบ่อมีขนาด 1-2 ไร่ แล้วทำท่อระบายน้ำเสียของการทำเห็ดลงไป คุณจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 3-7 หมื่นบาทต่อปี เป็นอย่างน้อย เป็นโบนัส
8.คนรับจ้างปลอกเห็ด ส่วนใหญ่จะเป็นคนแก่ หรือแม่บ้านที่ทำงานหนักไม่ได้ จะมารับจ้างปลอกโคนเห็ดจ่ายเป็น ก.ก. ละ 1-2 บาท ถ้าคุณทำใหญ่ต้องมีคนประเภทนี้ ไม่เช่นนั้นจะทำงานได้ไม่ทันส่งตลาด
9.แหล่งหาวัสดุเพาะ คุณจะต้องรู้ก่อนว่า ในพื้นที่ของคุณสามารถ หาวัสดุเพาะดังนี้ได้อย่างไร
-ขี้ฝ้าย กากมันสำปะหลัง ทลายปาล์ม นอกจากนี้ไม่แนะนำ หากขนส่งไม่เกิน 300 ก.ม. คุ้มค่ากับการนำมาใช้ เพราะเห็ดฟางกำไรสูง ถ้าซื้อวัสดุเพาะเป็นปริมาณมาก ๆ แล้วขนทีเดียว ต้นทุนรับได้สบาย ๆ
-เปลือกถัวเขียว ถ้ามีจะดีมาก
-ฟางข้าว ถ้าซื้อเป็นมัดที่เขาขายเลี้ยงวัว ทำงานไม่ได้ ต้นทุนสูงมาก ต้องจองแล้วขอกับคนที่เขาทำนาช้าว จะไม่แพง จ้างเขาอัดเป็นก้อน จะได้ทำงานง่าย
-เศษผลไม้ โดยเฉพาะเปลือกสับปะรด ถ้ามีก็จะดีมาก ๆ
-อื่น ๆ ไม่ที่ต้องใช้นอกจากนี้ไม่ใช่ปัญหา
ที่กล่าวมานี้ อยากให้เกษตรรับรู้ปัญหาไว้เท่านั้น อย่าลืมว่าหัวข้อของเราคือ ปัญหาและอุปสรรค บางเรื่องอาจจะดูเป็นเรื่องหยุมหยิม แต่สร้างปัญหาให้ผมมาแล้วทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรจะรู้ไว้และตามต่อไปครับ ผมว่าถ้าคุณรู้มากเท่าไร ปัญหาคุณยิ่งน้อย โอกาสทำงานสำเร็จจะมากขึ้น เลี้ยงเห็ดฟาง ต้องอดทนครับและต้องเป็นคนไม่วิตกกังวล มาก แก้ปัญหาไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็ดีของมันเอง ถ้าไม่อดทนก็จบ และไม่ควรทำ ไม่สำเร็จหรอกเสียเงินเสียเวลาครับ ส่วนข้อดีของการเลี้ยงเห็ดฟางมีอย่างเดียวคือ เงิน ซึ่งไม่มีรายละเอียดมากหรอกครับ
ตอนที่ 4
การสร้างโรงเรือน
ในการสร้างโรงเรือน ถ้าเกษตรกรรายใหม่ จะไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะใช้ขนาดที่เท่าไร เพราะในตำรามีหลายขนาดมาก ชั้นวางก็มีหลายขนาดความกว้างและความยาว บางรายทำแล้วพอไปปฏิบัติงานจริง จะมีปัญหา ดังนั้นควรต้องทราบข้อมูลดังต่อไปนี้
1.จำนวนของวัสดุที่ใช้เพาะ ไม่พอดีใช้ในโรงเรือน หนึ่ง เช่น ทลายปาล์ม หนึ่งคันรถ ใส่ไม่เต็มโรงเรือน หรือมีเศษเหลือ ขึ้ฝ้ายอัดแท่งใช้ได้มีเศษเหลือ อันเป็นเหตุทำให้ต้นทุนการทำงานสูงขึ้น
2.ขนาดของโรงเรือน ไม่เหมาะสมกับเตาที่ใช้ต้มอบไอน้ำ ทำให้ทำอุณหภูมิอบไอน้ำในโรงเรือนไม่สูงพอ
3.เห็ดฟางที่เพาะได้ในชั้นล่างสุด กับชั้นบนสุดได้ผลน้อย
4.ขนาดความกว้างและระยะห่างของชั้น ไม่สะดวกในการขนย้ายวัสดุเพาะ และการเก็บดอกเห็ด ทำให้เสียเวลาทำงานมาก สิ้นเปลืองค่าแรงงาน
5.ความกว้างของทางเดินระหว่างชั้น ไม่สะดวกในการขนย้ายวัสดุเพาะ

ปกติการทำโรงเรือนเพาะเห็ดจะทำเป็นโรงเรือน 2 ชั้น คือโรงเรือนหลัก และโรงเรือนรอง เหตุผลเพราะ ต้องอบไอน้ำจึงต้องใช้ผนังโรงเรือนรองเป็นพลาสติกกันไอน้ำ แต่พสากติกไม่ทนแดดลมทำให้เปื่อยง่าย จึงต้องทำโรงเรือนหลัก แต่ของผมใช้ผ้าไวนิล หรือผ้าพลาสติดโฆษณาที่ใช้แล้ว ซึ่งขอซื้อได้ตามร้านรับพิมพ์ป้ายโฆษณาบางร้านมีมาก แล้วนำมาต่อกันโดยใช้กาวร้อน ซึ่งซื้อที่คลองถมเป็นกล่องจะตกหลอดไม่ถึง 10 บาท ซื้อมา 1 กล่องก็พอใช้ 1 โรงเรือนสบาย ๆ การต่อผ้ารอยต่อจะต้องหนา 2 นิ้ว เพราะต้องรับน้ำหนัก และรอยต่อต้องไม่ไห้รั่ว เพราะต้องเก็บไอน้ำให้อยู่ ผ้าไวนิลอยู่ได้ 2 ปี เป็นอย่างน้อยครับ โรงเรือนหลักผมไม่ใช้ ผมใช้ลวดสลิงขึง 2 ข้าง แล้วนำตาข่ายพลางแสงมาร้อยกับตาไก่ (ขอแบ่งซื้อจากร้านพิมพ์โฆษณา) เป็นช่วง ๆ แล้วร้อยเข้ากับลวดสลิง สูงจากโรงเรือน 1 เมตร กว้างกว่าโรงเรือนเท่าไรก็ได้ ใช้รูดเปิดปิดจะทำให้ตาข่ายพลางแสงใช้ได้นานขึ้น ถ้าโรงเรือนร้อนเกินไปก็ให้ดึงตาข่ายพลางแสง ในหน้าหนาวก็ให้โรงเรือนตากแดด ไม่ใช้ก็รูดเก็บไปด้านข้าง อันนี้ทำให้ไม่ต้องสร้างโรงเรือนหลัก ประหยัดไปเยอะเลยครับท่าน และถ้าหากโรงเรือนของคุณสร้างในที่ที่มีร่มไม้ ก็ไม่ต้องมีตาข่ายพลางแสง เพราะผ้าไวนิลใช้ได้ 2 ปี คุ้มแล้ว เสียแล้วทำใหม่คุ้มกว่าทำโรงเรือนหลัก
          ช่องลมของโรงเรือนรองให้ซื้อซีปแบบยาว ๆ เอาด้ายดิบร้อยรับน้ำหนัก แล้วเอาผ้าไวนิลแปะติดขอบไว้ด้วยกาวร้อน ส่วนขนาดกว้างยาวแล้วแต่ขนาดของซีปที่หาได้ จะมีกี่ช่องขึ้นกับขนาดของโรงเรือน ถ้าขนาดของโรงเรือน 50 ตารางเมตร ขนาดของช่องลมก็ประมาณ 50 ตารางเซนติเมตร 2 ด้าน หัวท้ายเหนือประตู ให้มากที่สุด และต้องทำหูร้อยเชือกไว้เวลาเปิดช่องลมให้ผูกเชือกพับเปิดผ้าค้างไว้ได้
ช่องลมด้านล่างให้ใช้กระป๋องพลาสติกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางฝากระป๋องอย่างน้อย 5 นิ้ว ยิ่งกว้างยิ่งดี ตัดก้นทิ้ง แล้วเจาะช่องผนังไวนิลเสียบกระป๋องเข้าไปเอาเศษผ้าไวนิลปิดทับอย่าให้ไอน้ำรั่วออกได้
ให้ทำสูงกว่าพื้นเล็กน้อย และต้องต่ำกว่าชั้นล่างสุดของชั้นวางวัสดุเพาะ ให้ทำ 2 ข้างประตูทั้ง 2 ด้าน และต้องทำช่องนี้อีกช่อง เพื่อเอาไว้เป่าลมเพื่อให้อากาศด้วย ช่องนี้ให้ทำหลังจากซื้อเครื่องเป่าลมครับจะทำให้ช่องสูงพอดี
ประตูโรงเรือน ให้เจาะช่องประตูเป็นรูปประตู โดยกรีดด้านข้างทั้ง 2 ด้าน แล้วต่อขอบของรอยตัดเพิ่มขึ้นอีกข้างละ 3 นิ้วฟุตไว้พับแล้วหนีบไม่ให้ไอน้ำรั่วเวลาอบไอน้ำ เอาไม้ตีทำให้เป็นกรอบประตู ให้ทำประตู ละด้านหัวท้าย
ผนังโรงเรือน ต้องมีชายผ้าไวนิลละพื้นยาว 20 ซ.ม. เวลาอบไอน้ำให้ทับด้วยถุงผ้าบรรจุทราย เวลาล้างโรงเรือนให้ตลบชายผ้าขึ้นได้เพื่อทำความสะอาดโรงเรือน
พื้นโรงเรือน ถ้าทุนน้อยเวลาทำงานให้ปูด้วยผ้าพลาสติด เพื่อเก็บกวาดวัสดุเพาะที่ตกหล่น เสร็จแล้วให้เก็บขึ้น ถ้ามีทุนพอให้เทปูน
ส่วนไม้ที่จะใช้ทำโรงเรือน ควรเป็นไม้ยูคาลิปตัส เพราะทนน้ำกว่าไม่สน ราคาใกล้เคียงกัน จะอยู่ได้อย่างน้อย 2
ปี พอดีกันกับผ้าไวนิล
การยึดผ้าไวนิลให้ติดกับโรงเรือนผมใช้ตะปูหัวล่มที่ใช้ติดล็อตตาลี่ สลากกินแบ่ง ตอก ส่วนท่านจะประยุกต์ใช้อะไรก็ได้ เพียงแค่ยึดติดโดยไม่ให้ผ้าขาดเท่านั้น
ความยาว ให้ยาวกว่าชั้นวางวัสดุเพาะข้างละ 1 เมตร
ความกว้าง ให้กว้างกว่าชั้นวางวัสดุเพาะบวกทางเดินระหว่างต๊ง (ต๊งคือ ชั้นวางเห็ด 1 แถว ซึ่งแต่ละแถวจะมี 3 หรือ 4 ชั้นวาง) ข้างละ 80 เซนติเมตร
ความสูงของโรงเรือน ให้ส่วนที่ต่ำที่สุดของหลังคาอยู่สูงกว่าชั้นวางวัสดุเพาะอย่างน้อย 70 ซ.ม. ไม่เช่นนั้น ชั้นบนสุดของวัสดุเพาะจะมีอุณหภูมิสูงเกินไป เห็ดจะไม่ค่อยได้ผล
เสากลางของโรงเรือน ต้องวางแผนให้ดี อย่าให้อยู่กลางทางเดิน จะขวางทางไปหมด น่ารำคาญใจมาก หลังคาโรงเรือนซ้ายขวาไม่จำเป็นต้องยาวเท่ากันนะครับ วางแผนให้ดีให้เสากลางทุกเสาอยู่ติดกับชั้นวางวัสดุ คือให้เว้นระยะห่างของเสาให้ตรงกับชั้นพอดี อย่าอยู่กลางทางเดิน
ตอนที่ 5
ชั้นวางวัสดุเพาะ
- ขนาดของโรงเรือนขึ้นอยู่กับขนาดชั้นวางวัสดุเพาะ แต่ทั้งนี้ไม่ควรมีพื้นที่มากกว่า 80 ตารางเมตร เพราะจะทำ ให้เตาอบไอน้ำ 3 ถังไม่พอ เตาอบไอน้ำควรทำ 3 ถัง 200 ลิตร ไว้ก่อน ใหญ่ไปหน่อยดีกว่าเล็กไปหน่อย ต้นทุนต่างกันอีกนิดหน่อยครับ ส่วนวิธีทำเตาจะกล่าวถึงในครั้งต่อไป
-ความยาวของชั้นวางของ ยิ่งยาวเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของคุณลดลง แต่ไม่ควรยาวเกิน 12 เมตร เพราะจะทำให้โรงเรือนของคุณใหญ่มาก และยังทำให้สภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนระหว่าง หัวกับท้ายแตกต่างกันมากเกินไป
-ความกว้างระหว่างชั้น ยิ่งกว้างเท่าไร ยิ่งต้นทุนต่อหน่วยลดลง แต่ถ้ากว้างมากจนเก็บดอกเห็ดไม่ถึง จะทำให้ทำงานไม่สะดวก ก็ดูว่าช่วงแขนคุณเท่าไร ก็คูณ 2 เข้าไปก็ใช้ได้ จะเก็บเห็ดทั้ง 2 ด้านได้ทั้งแปลง
-ความสูงระหว่างชั้นวาง ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชนย้ายวัสดุ และต้องสูงพอให้ใช้ฝักบัวรดน้ำเข้าถึงตัววัสดุเพาะทุกตำแหน่ง ของผมเองใช้ 55 ซ.ม. ระยะห่างระหว่างชั้นถ้ามากจะทำให้ชั้นที่ 4 อยู่สูง ทำให้ขนาดของโรงเรือนสูงตามไปด้วย หากคุณมีวิธีให้น้ำวัสดุเพาะดัวยอุปกรณ์อื่น ซึ่งไม่ต้องให้ชั้นวางของห่างกันมาก ก็จะเป็นการดี
-ระยะห่างระหว่างพื้นกับชั้นล่างสุด ไม่ควรน้อยกว่า 35 ซ.ม. เพราะคุณจะต้องเก็บเห็ดใต้ชั้นวาง และต้องกวาดวัสดุเพาะที่ตกตามพื้น
-ส่วนระยะห่างของแต่ละต๊ง (หมายถึงชั้นวางวัสดุเพาะแต่ละแถว) ซึ่งใช้เป็นทางเดินต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ที่แต่ละท่านใช้ในการขนย้ายวัสดุเพาะ เพราะถ้าไม่กว้างพอดี จะทำงานไม่สะดวกและใช้เวลาในการทำงานมาก เปลืองค่าแรงงานครับ ต้นทุนนี้ไม่ควรเสียไปเปล่า ๆ
-วัสดุที่วางในแต่ละชั้นจะมีน้ำหนักมาก ประมาณตารางเมตรละ 25 – 40 ก.ก แล้วแต่วัสดุเพะ และการทำงานในชั้นที่ 4 จะต้องปีนเป็นบางครั้ง เพราะฉะนั้น ท่านที่ไม่ได้เทพี้นปูน จะต้องรองตีนเสาไม่ให้เสาจมดิน
-วัสดุที่ใช้ทำชั้นวางวัสดุให้ใช้ไม้ยูคา เพราะโดนน้ำแล้วไม่เปื่อยง่าย ยิ่งโดนน้ำยิ่งเหนียว
-ไม้ที่ใช้ทำเสาควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3 นิ้ว ความยาวเท่ากับ ระยะห่างของพื้นกับชั้นล่าง 35 ซ.ม. บวกด้วยระยะห่างระหว่างชั้น 3 ชั้น และให้มีไม้เหลือที่หัวเสาอีกอย่างน้อย 30 ซ.ม. เพื่อตีไม้ขวางยึดแต่ละต๊งให้เชื่อมโยงกันและกัน ไม่ให้ชั้นวางล้ม หรือเอียง เวลารับน้ำหนักมาก ๆ อันนี้สำคัญมาก จะไม่ทำไม่ได้ชั้นคุณจะเอียงไปมา สุดท้ายล้มแน่นอน ผมโดนมาแล้ว เสียอารมณ์มาก เสียกำลังใจด้วย ต้องทำนะครับท่าน
-ระยะห่างของเสาแต่ละต้น เสายิ่งน้อยยิ่งทำงานสะดวก แต่ถ้าห่างไปจะรับน้ำหนักไม่ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของไม้ที่ใช้ทำคาน และชนิดของวัสดุเพาะ โดยมากไม้ยูคาขนาดยาว 4 เมตร จะมีขนาดของหัวกับท้ายต่างกันอยู่ 1 ใน 3 เพราะฉะนั้น เสาควรห่างกันน้อยกว่า 2 เมตร
-ปลายไม้ทุกชิ้น เวลาตอกตะปูส่วนใหญ่จะแตก ให้เหลือเกินไว้หน่อย เอาลวดทบไว้ 2 เส้นรัดเอาไว้ก่อนแล้วค่อยตีตะปู ชั้นวางของคุณก็จะแน่นหนามาก
-ไม้ที่ใช้ปูรองวัสดุเพาะ เป็นไปได้ให้ใช้ไม้ไผ่หวาน จะทนดีมีปัญหาเรื่องมอดน้อยกว่าตัวอื่น และโคนจะตัน ปลายเวลาจะตีให้เอาลวดรัดไว้เหมือนกัน
-ระยะห่างของไม้ปูรองวัสดุเพาะ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุเพาะ ที่สำคัญถ้าห่างไปจะทำให้วัสดุเพาะหล่น และถ้าเงินเยอะอยากปูถี่ๆ ก็ควรมีระยะห่างไม้อย่างน้อย 1 นิ้วฟุต เพราะจะต้องเหลือพื้นที่ไว้ให้เห็ดที่ออกดอกใต้ชั้นวางมีพื้นที่ขยายโคน ของผมใช้ฟางเป็นวัสดุรองเพาะ จึงใช้ระยะห่าง 2 นิ้วฟุต ส่วนชั้นล่างสุดผมใช้ระยะห่าง 1 นิ้วฟุต
-หากคุณอยู่ใกล้พื้นที่ที่ทำประมง ถ้าสามารถหาอวนเก่ามาใช้เป็นที่รองวัสดุเพาะ จะประหยัดต้นทุนไม้ที่ใช้ปูรองพื้นได้มากที่เดียว

ในการทำโรงเรือนและชั้น คุณต้องขึ้นโครงโรงเรือนก่อน ทำเสา คาน แปร เส ให้ เสร็จ แล้วเทพื้นปูน ถ้าไม่
เทปูนก็ต้องปรับพื้นไม่ให้น้ำขังอยู่ในโรงเรือน ต้องให้น้ำไหลออก แล้วจึงทำชั้นวาง เสร็จแล้วจึงคลุมผ้าไวนิล
การทำแบบนี้ไม่จำเป็นต้องติดไฟภายในโรงเรือน แสงที่ทะลุโรงเรือนเข้ามาเพียงพอแล้ว ระยะห่างของเสไม่ควรเกิน 1 เมตร เสที่จั่วบนให้อยู่ใต้คาน เสด้านล่างให้อยู่บนคาน เพราะจะทำให้น้ำขังบนหลังคา
จริง ๆ ผมควรวาดรูปให้ดู แต่ไม่มีความรู้ทางคอมว่าจะใช้อะไรวาด ต้องขอโทษด้วยที่อาจจะอ่านแล้วงง สงสัยอย่างไร ถามได้นะครับท่าน อยากให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรที่ต้องการลงทุนทำงานครับ
ตอนหน้าจะพูดเรื่องเตาอบไอน้ำ
ตอนที่ 6

ในตอนนี้จะพูดถึงเตาอบไปน้ำ อย่างที่เคยบอกไว้ การอบไอน้ำเป็นหัวใจอันหนึ่งที่จะทำให้งานสำเร็จ ถ้าอบไอน้ำไม่ได้ การเพาะเห็ดฟางไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ
การอบไอน้ำ หากพื้นที่โรงเรือนขนาด 30 ตารางเมตร ต้องใช้ถังน้ำมันจำนวน 2 ถัง มากกว่านั้นใช้ 3 ถัง โรงเรือนที่ใช้พื้นที่มากกว่า 70 ตารางเมตร ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอบไอน้ำได้ยาก และเกิดผิดพลาดขึ้นมาจะเสียหายมาก และการทำงานจำนวนมากขนาดนั้น ไม่ได้ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง แต่เพิ่มความยุ่งยากในการทำงานให้มาก การใช้ถังอบไอน้ำ ให้ทำใหญ่กว่าหน่อย ดีกว่าเล็กไปหน่อย เพราะถึงจะเสียค่าใช้จ่ายทำเตาสูง แต่ประหยัดเชื้อเพลิง ครับ การทำอุณหภูมิโดยใช้ 2 ถัง กับ 3 ถัง ในโรงเรือนขนาด 50 ตารางเมตร เตา 3 ถังจะประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า 20 เปอร์เซ็น ผมทดลองมาแล้ว ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประหยัดไม่ได้ ระยะยาวเสียค่าเชื้อเพลิงมาก
การเชื่อมถังอบไอน้ำ
-ใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร ต้องเป็นถังที่ไม่ได้บรรจุสารเคมีอันตราย
-ล้มถังนอนลงเรียงกัน โดยให้รูเติมน้ำหันมาทางเดียวกัน แล้วเชื่อมติดกัน โดยให้รูเติมน้ำช่องใหญ่ขนาด 2 นิ้วฟุด อยู่ในตำแหน่งที่เติมน้ำเต็มได้ 55,65,75 เปอร์เซ็น ตามลำดับ ในการทดลองอบไอน้ำครั้งแรก ให้ทดลองอบโรงเรือนเปล่า ๆ ก่อน โดยไม่ต้องใส่วัสดุเพาะ เติมน้ำให้เต็มที่ถังที่มีรูเติมน้ำในตำแหน่ง 75 เปอร์เซ็น เพราะหลังจากทดลองอบไอน้ำให้ได้อุณภูมิที่ต้องการ และเวลาที่ต้องการแล้ว ให้ดูน้ำว่าเหลือมากน้อยเท่าใด ในการอบไอน้ำจริง ก็ให้ลดน้ำลง ให้เหมาะสม ตามแต่ว่าจะเป็น 55,65 หรือ 75 เปอร์เซ็น หากเติมน้ำที่ 75 เปอร์เซ็น แล้วทำอุณหภูมิไม่ได้ ให้ใช้พัดลมเป่าอากาศช่วยในการให้เชื้อเพลิง จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้อีก 5 องศา ในโรงเรือนชนาด 70 ตารางเมตร หากใช้แค่ 2 ถัง รูเติมน้ำให้อยู่ในตำแหน่ง 60,75 เปอร์เซ็น
-ในการทดลองอบไอน้ำ ให้สำรวจโรงเรือนที่สร้างไว้ ว่ามีไอน้ำรั่วในตำแหน่งใด ให้ทำการแก้ไช มิฉะนั้น คุณจะทำอุณหภูมิไม่ได้ โดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ต้องสำรวจอย่างดี เพราะทำอุณหภูมิยาก ใช้เชื้อเพลิงมาก เสียค่าใช้จ่ายสูง
-หลังจากเชื่อมถังติดกันแล้ว ให้เจาะรูด้านบนถัง ทั้ง 3 ถัง ห่างจากขอบด้านก้นถัง 10 ซ.ม. ต่อท่อเหล็ก ขนาด 2 นิ้วฟุต เชื่อมรูทั้ง 3 ถัง เพื่อให้ไอน้ำทั้ง 3 ถังออกในทางเดียวกัน ในท่อเหล็กของถังกลาง ให้ต่อท่อชี้ขึ้นฟ้า ให้ไอน้ำวิ่งขึ้นไป สูงอย่างน้อย 1.5 เมตร 2 เมตรได้ยิ่งดี เพื่อกันไม่ให้น้ำในถังไหลเข้าไปในสายส่งไอน้ำ ทำให้สูญเสียน้ำในถัง จะทำให้น้ำในถังหมดเร็ว และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง จากนั้นก็ให้ใส่ข้องอ เพื่อให้ทางออกไอน้ำชี้ลงดิน ในบริเวณที่พ้น ตัวเตา ปลายทางออกให้ใส่หางปลา แล้วใช้ปลอกรัดสายยางขนาด 2 นิ้ว รัดสายยางส่งไอน้ำให้ตกห้อยลงมา
-ด้านใต้ถัง ให้เชื่อมถังแบบเดียวกับด้านบน เพื่อให้น้ำในถังทั้ง 3 ใบ ถ่ายเทไปมา โดยให้เชื่อมห่างจากขอบถัง 20 ซ.ม ให้เชื่อมยาวลงมา 20 ซ.ม. ส่วนที่เชื่อมนี้ เวลาวางถังบนเตา จะอยู่ในช่องให้เชื้อเพลิง คอยรับความร้อนที่จะวิ่งเข้าหาพนังเตา น้ำที่ร้อนจะวิ่งถ่ายไปมาระหว่างถัง ประหยัดพลังงานและให้ผลดีต่อความร้อนภายในถังมาก ถ้าให้ดีให้เชื่อมโยงไปมาเป็นแผงเรียงกัน 3 แถวเลยยิ่งดีใหญ่ เปลืองหน่อยแต่คุ้มค่าครับ ทำแบบนี้ทั้ง 2 ด้านของถัง เท่ากับมีท่อรับความร้อนที่ผนังเตาทั้ง 2 ด้าน ด้านละ 3 แถว
การสร้างเตา
-ให้ก่อผนังเตา 2 ด้าน สูง 25 ซ.ม.
-ความหนาเท่ากับความยาวของอิฐแดง ก่อซ้อนสลับไปมา
-ระยะห่างของผนังเต่า เท่ากับระยะห่างของท่อที่เชื่อมด้านใต้ถัง เสียบลงไป อยู่พอดีชนผนังเตา ด้านใน
-ความยาว เท่ากับความยาวของถังที่เชื่อมต่อกัน บวกด้วย 80 ซ.ม. ฉาบภายในให้เรียบร้อย นำเหล็กข้ออ้อย มาวางพาดระหว่างผนัง เริ่มตั้งแต่ส่วนท้ายของเตาเข้ามา 20 ซ.ม. วางเรียงกันห่าง 20 ซ.ม. ต่อหนึ่งเส้น วางเรียงให้ได้ระยะความยาวของถังที่เชื่อม เหล็กนี้ถ้าใช้เล็กหรือวางห่างเกินไป เวลาถูกความร้อน จะทำให้เหล็กอ่อนลงตกท้องช้างที่กลางเตา ทำให้ใส่เชื้อเพลิงไม่ได้ถึงด้านใน

-ก่อผนังปูนสูงขึ้นอีก 25 ซ.ม. รอให้ปูนแห้ง 1 คืน
-ยกถังที่เชื่อมไว้ลงเสียบลงระหว่างผนังเตา ให้ตัวถังนั่งอยู่บนผนังเตาที่ก่อ ห่างจากส่วนท้ายเข้ามา 20 ซ.ม. ก่อนปิดท้ายเตา โดยด้านล่างใต้เหล็กข้ออ้อยให้ก่อปิดท้ายเตาลึกเข้าไป 15 ซ.ม
-หลังจากนั้นให้ก่อปิดท้ายเตา ด้านบนของเหล็กข้ออ้อย โดยให้ก่อเป็นแท่นเว้าเข้าไป ให้เล็กลงจนสามารถวางปล่องไฟได้ ปล่องไฟให้วางไว้สูง 60 ซ.ม. นับจากเหล็กข้ออ้อย และให้วางปล่องไฟไว้ชิดตัวถังมากที่สุด วางเกยถังเลยยิ่งดี เพราะว่าความร้อนที่บริเวนทางออกที่ใช้ตั้งปล่องไฟนั้นสูงมาก ถ้าวางชิดตัวถังจะได้ประโยชน์มาก
-ปล่องไฟ ให้ใช้ท่อใยหิน ถ้าไม่ทำน้ำส้มควันไม้ ก็ให้ปล่องไฟสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยึดสายลวดให้ดีอย่าให้ปล่องไฟล้ม ถ้าสูงมากเท่าไร ก็ยิ่งไม่ต้องใช้พัดลมเป่าอากาศข่วยเวลาให้เชื้อเพลิง ถ้าจะทำน้ำส้มควันไม้ก็ต้องทำปล่องแบบน้ำส้มควันไม้ แต่ต้องใช้พัดลมช่วยเป่าลมเวลาให้เชื้อเพลิง น้ำส้มควันไม้นี้ใช้ทาแก้โรงผิวหนังได้หลายชนิด และใช้ได้ดีมากกับโรงผิวหนังประเภทเชื้อรา คือทำแล้วใช้สด ๆ เลยดีที่สุด ไม่ต้องตั้งรอไว้ให้ตกตะกอนอีก เหลือเก็บไว้ได้ อื่นๆ ผมเห็นประโยชน์น้อย ใช้อย่างอื่นคุ้มค่ากว่าครับ ไม่ยุ่งยาก ถ้าซื้อเอาก็แพง ไม่คุ้ม
-ฉาบปูนปิดล้อมถังด้านข้าง ด้านบน และท้ายให้เรียบร้อย อย่าให้มีควันไฟ ทะลุออกมาได้
-ด้านหน้าเตา เหลือพนังอยู่ 60 ซ.ม. เพื่อกันไม่ให้เปลวไฟเลียออกนอกเตา ให้ก่อพนังสูงขึ้นไป เสมอกับด้านบนของถัง วางเหล็กเส้นเล็ก ๆ ปูด้วยโลหะแผ่นเรียบ เทปูนปิดด้านบน หนา 2 นิ้ว
-นำเหล็กเส้น หนา 1 ซ.ม. ยาวเท่ากับ ความยาวของถัง บวกด้วย 60 ซ.ม.
-ดัดปลายหนึ่งขึ้นเป็นมุม 40 องศา ที่ตำแหน่ง ความยาว 60 ซ.ม. นำเหล็กมาขวางเชื่อมต่อกันเป็นแพ ระยะห่างระหว่างเส้น 1.5 ซ.ม. ถ้าห่างกว่านี้ เศษเชื้อเพลิงจะหล่นไปใต้เตามาก
-ความกว้างของเหล็กที่เชื่อมเป็นแพ ให้พอเสียบเข้าออกเหนือเหล็กข้ออ้อยได้สะดวก
-เหล็กที่ดัดขึ้น จะอยู่หน้าเตา เวลาใส่เชื้อเพลิง เชื้อเพลิงจะตกไปอยู่ใต้ถังแรกพอดี
ผมไม่ใช้สถาปนิกในเรื่องเตา แต่จากการก่อเตาแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ 4 เที่ยว ทำให้ผม
ได้รูปแบบเตานี้มา ใช้เงินซื้อของประมาณ 6,500 บาท ใช้ถัง 3 ใบ ไม่รวมค่าแรง ทดลองดูแล้วใช้กับโรงเรือนขนาด 60 ตารางเมตร ทำอุณหภูมิได้สูงสุด 73 องศา ได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมเป่าอากาศช่วย เชื้อเพลิงใช้ฟืนครับ ถือว่าใช้งานได้ ถ้าใครมีรูปแบบที่ดีกว่านี้ช่วยบอกด้วยนะครับ จะได้เป็นทางเลือกให้เกษตรกร
ผมเสียดายที่ไม่มีรูป และไม่สามารถพอที่จะใช้คอมเขียนแบบ ท่านผู้ใดอ่านแล้วเข้าใจ ช่วยกรุณาเขียนรูปส่ง E-mail ให้หน่อยจะเป็นพระคุณอย่างสูง ถ้าแบบผิดผมบอกแก้ไขให้ครับ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจก็ E-mail มาถามได้นะครับ จะได้คุยกันในส่วนที่ไม่เข้าใจ
เชื้อเพลิง
โดยส่วนตัว ผมไม่แนะนำให้ใช้ยางรถยนต์เป็นเชื้อเพลิงครับ เพราะมีกลิ่น ควัน มาก และตัวคุณเองก็เสียสุขภาพด้วย การทำเห็ดฟางดีอย่างคือไม่ต้องยุ่งกับสารเคมีที่เป็นอันตรายกับมนุษย์เลย และในบริเวณรอบนอกโรงเรือนในระยะ 50 เมตร ห้ามใช้ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าหญ้า ในเรื่องแมลงนั้นถ้าทำความสะอาดสถานที่เพาะเลี้ยงอยู่เป็นประจำ จะไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่อง มดและแมลง ดังนั้นการเป็นเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จึงเป็นเกษตรกรที่เหนื่อยแบบได้ตัง และปลอดภัยมาก ๆ เพราะฉะนั้นไหน ๆ ก็ ไหน ๆ ยางรถยนต์ผมไม่ส่งเสริมครับ
ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง ถ้าโรงเรือนขนาด 30 ตารางเมตร ใช้จ่ายมากกว่า 250 บาท ถือว่าใช้ไม่ได้ ต้องหาตัวเลือกตัวอื่นเป็นเชื้อเพลิงครับ ซึ่งผมแนะนะเชื้อเพลิงดังนี้ครับ
1.ฟืน
2.ไม้พาเลท อัดแท่ง อันนี้ถ้าเสียค่าขนส่งสูงไม่น่าใช้
3.ถ้าท่านใดอยู่ในแหล่งที่มีการเผาถ่าน ให้นำดินเหนียว 1 ส่วน แป้งมัน 1 ส่วน ผสมน้ำให้เหลว พอเหนียว ใช้เศษถ่านมาคลุกเคล้าพอปั้นให้ขึ้นรูปได้ นำไปตากแดด ถ้าใช้ดินในหลุมเผาถ่านก็ได้แต่ให้ลดดินเหนียวลง ผสมให้พอขึ้นรูปได้เป็นพอ อันนี้ใช้ดีกว่า ฟืน แต่ไม่ดีเท่า ไม้พาเลทอัดแท่ง ในการอบไอน้ำ ในขี้เถ้าจะมีเศษถ่านบางส่วน ถ้าร่อนเอาไว้ใช้ก็จะเป็นการประหยัด แถมให้ไฟที่ดีด้วยครับ
ขี้เถ้าที่ได้จากเตา เวลาขนวัสดุเพาะที่ใช้แล้วไปกองเป็นปุ๋ยหมัก ให้ผสมขึ้เถ้าเป็นชั้นบาง ๆ จะทำให้กลิ่นลดน้อยลง และบนสุดของกองปุ๋ยหมัก ให้โรยขี้เถ้าทับไว้จะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงครับ สถานที่ ๆ ใช้กองปุ๋ยหมักไม่ควรอยู่ในที่ร่ม แดดจะช่วยกลิ่นหายเร็วและย่อยสลายได้เร็วขึ้น
หากท่านใดมีปัญหาอะไรถามได้นะครับ คนที่เริ่มเพาะเห็ดฟางใหม่ ๆ จะมีปัญหาตัวเดียวกันเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร เพราะหาแหล่งความรู้ทางวิชาการไม่ได้ บางปัญหาบางทีถามแล้วได้คำตอบในการแก้ไข 2 – 3 ทาง ไม่รู้จะแก้ไขแบบไหนจึงจะถูกต้องเพราะไม่รู้เหตุผลของปัญหา ทำให้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด เลยไม่ประสบผลสำเร็จ

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


มาทำความรู้จักกับเห็ดฟาง

เห็ดฟาง เป็นพืชที่เพาะเลี้ยงและสามารถให้เก็บผลผลิตได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น คือใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนประมาณ 15-20 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดไปจำหน่ายได้ ดอกเห็ดฟางจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการมาก อาชีพการเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดฟางคือ อัตราเติบโตของปริมาณผลการผลิตเห็ดฟาง มีอัตราต่ำกว่าการเติบโตของการบริโภค และยังมีตลาดรองรับที่แน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ
          การเพาะเลี้ยงเห็ดฟางมีหลายแบบ แต่หากคิดที่จะผลิตเห็ดเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ จะต้องใช้วิธีการการเพาะเลี้ยงแบบโรงเรือน ทั้งนี้เพาะในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สามารถผลิตเห็ดได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอทั้งปี ยิ่งในช่วงที่ฝนตก หรือมีอากาศหนาว ราคาเห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ อีกทั้งการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน สามารถการดำเนินงานได้สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่าการเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนี้ก็ยังมีข้อเสียคือ มีการลงทุนในขั้นแรกที่ค่อนข้างจะสูง มีหลักวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการเพาะมากพอสมควร ดังนั้นผู้ที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในเรือนจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบ และเข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะหากกระทำไม่ถูกวิธีแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
เหตุใดเห็ดฟางจึงเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง
          การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง ครั้งหนึ่ง ๆ จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุเพาะ ค่าหัวเชื้อ ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะมีกำไรอยู่ประมาณ
50-65 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดราคาถั่วเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ประมาณ 65 บาท ต่อกิโลกรัม แต่เหตุใด หรือทำไม จึงมีผู้ประสพผลสำเร็จ ได้น้อย อันเป็นเหตุให้ราคาเห็ดฟางคงที่อยู่ตลอดทั้งปี และในบางช่วงราคาอาจสูงถึง ก.ก. ละ 70 – 90 บาท ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้
          1.เห็ดฟาง เป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการดูแลรักษาการผลิตมาก มีขั้นตอนการทำงานมาก ซึ่งถ้าหากมีการทำงานผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงขั้นตอนเดียว ก็จะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตแล้ว
          2.ผู้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี รู้แต่วิธีและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งเห็ดฟางเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย มิเช่นนั้นจะ ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำลง
          3.ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น (ก๊าซแอมโมเนีย) และมีปํญหาเรื่องแมลงไร ทำให้หาแรงงานได้ยาก แต่ถ้าหากขั้นตอนการทำงานถูกต้อง ปัญหานี้จะน้อยลงไปมาก
          ด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการข้างต้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมเลิกเพาะเลี้ยง หรือหยุดเพาะเลี้ยงในบางช่วงที่อากาศหนาว   ในขณะที่ผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ ก็ไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง ทำให้ประสพปัญหาขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ซึ่งส่งผลให้อัตราการผลิตน้อยลงไปทุกที ในขณะที่การบริโภคไม่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาผลผลิตสูงอยู่ตลอด และบางช่วงราคาสูงมาก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ยังคงต้องเพาะเลี้ยงต่อ
อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรรายใด มีคุณสมบัติครบ คือ
          1. มีความรู้ในเชิงทฤษดี ซึ่งสามารถหาอ่านได้ทั่วไป
          2. มีเงินทุน เริ่มต้น 30,000 บาท พอใช้สำหรับ 3 โรงเรือน ในเวลา 4 - 5 เดือน
          3. มีพื้นที่ทำงาน 1 – 2 ไร่
          4. มีความอดทน และเข้าใจว่าในระหว่างหาประสบการณ์ ประมาณ 10 – 20 ครั้ง การผลิต หรือ ประมาณ 3 – 6 เดือน จะต้องขาดทุนค่าแรงงาน
          5. มีแหล่งหาความรู้ในการทำงานเพาะเลี้ยง หรือสอบถามปัญหา
          6. ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน
          7. เป็นคนมีวินัยในการทำงาน และเป็นคนทำงานจริงจัง
คุณก็สามารถจะสร้างรายได้ ขั้นต่ำเดือนละ 2-30,000 บาท ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ยาก และถ้าสามารถขยายงานออกไปได้ สามารถทำการตลาดเองได้ คุณก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน
ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยง
          จากที่กล่าวมาข้างต้น เกษตรที่คิดจะเป็นผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางรายใหม่ อาจจะพอเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงบางแล้ว แต่อะไรก็ตามที่ปัญหามาก ผลตอบแทนก็สูงตามปัญหาและอุปสรรค ซึ่งต้องยอมรับว่าผลตอบแทนที่สูง เป็นแรงจูงใจที่ดี อีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะสร้างอนาคต ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ คุณก็จะเป็นผู้ประสพผลสำเร็จได้ในอนาคต จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม และคิดว่าผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่จะต้องเจอมีดังนี้

          1.วิธีการเพาะเลี้ยงและขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่จะได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนที่ตายตัว แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ทำให้มีปัญหาตามมาหลากหลาย และถ้าไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี ก็จะไม่เข้าใจเหตุผล ทำให้ปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้แก้ไข
          2. ในภาคทฤษฏี มีการทดลองในเชิงภาคปฏิบัติมามากแล้ว ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องทำการทดลองลองถูกลองผิดอีก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายเพิ่มขึ้น
          3. ในการเริ่มต้นหาประสบการณ์ทำงานจริง จะเกิดปัญหาขึ้นมาก และเป็นอะไรที่คาดไม่ถึง อันเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคิดไปเองว่าเป็นเช่นนั้น แต่พอทำงานจริง จึงเห็นปัญหาแล้วจึงเข้าใจว่าไม่ใช่ เช่น ตอนผมไปดูการเพาะเลี้ยงตามที่ต่าง ๆ จะไม่มีผู้อบรมรายใด ให้ความสำคัญในเรื่องเตาที่ใช้ในการอบไอน้ำ ทั้งนี้เพราะมันไม่ใช่ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง แต่การสร้างเตา ถ้าผิดไปจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงมาก หรือไม่ถ้าไม่สามารถทำความร้อนได้พอ ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหาย ผมไปมอง ๆ ดูว่าเตาเขาทำอย่างไร คิดว่าง่ายและไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วเตาเป็นหัวใจของการเพาะเลี้ยงเห็ดอย่างหนึ่งเลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่มีโอกาสสำเร็จ
          4. ในระหว่างหาประสบการณ์ ผลผลิตที่ได้จะน้อย ทำให้หาแหล่งขายได้ยาก แต่ถ้าคุณทำงานเข้าที่แล้ว มีผลผลิตที่มากพอ แน่นอนและสม่ำเสมอ คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการขายผลผลิต ตรงกันข้ามจะมีผู้คำประกันราคารับซื้อให้คุณเลยละ และยังมารับซื้อถึงที่อีกด้วย
ข้อดีของการเพาะเลี้ยง
          อ่าน ๆ ผ่านมา หลายคนคงไม่คิดที่จะทำการเพาะเลี้ยงแล้ว มีแต่ปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่น่าจะดี แต่จริงแล้ว การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นพืชตัวหนึ่งในไม่กี่ชนิด ที่มีแรงจูงใจที่ดีคือ

          1. ไม่มีปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างไร เห็ดของคุณก็ยังคงขายดี เห็ดฟางราคาสูงเท่าไร ก็ยังคงมีผู้จำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหาร ไม่ต้องกลัวขายผลผลิตไม่ได้
          2. ถ้าคุณมีผลผลิตสม่ำเสมอ คุณจะได้ราคาขายที่ตายตัว ผู้ซื้อบางรายรับประกันราคาขั้นต่ำให้คุณทั้งปีได้เลย ซึ่งถ้าคุณผ่านปัญหาไปได้ คุณจะมีรายได้เป็นที่แน่นอน สม่ำเสมอตามผลผลิตของคุณ และในช่วงที่เห็ดราคาสูง (บางครั้ง ก.ก 90-100 บาท จากปกติ 55-60 บาท) ถ้าคุณมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงเพียงพอ คุณจะยิ่งมีรายได้สูงขึ้นไปอีก
          3. หากคุณมีอาชีพเป็นช่างทำผม สมมุติคุณมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท หากคุณต้องการเพิ่มรายได้เป็น 20,000 บาท บนอาชีพเดิมทำไม่ได้ แต่เห็ดฟาง ถ้าคุณทำเพิ่มได้เท่าไร ขยายกำลังการผลิตได้เท่าไร มีคนรับซื้อครับ รับไม่จำกัดจำนวนด้วย เพียงมีเงื่อนไขเดียวให้คุณ คือคุณต้องทำให้ได้ปริมาณสม่ำเสมอ
          4. หากคุณมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ อาชีพเพาะเห็ดฟาง จะเป็นอาชีพหนึ่ง ที่คุณไม่มีโอกาสขาดทุน ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น
          หากคุณคิดว่าข้อดีในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางทั้งหลายนี้ เป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้คุณฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้ มันก็จะมีผลทำให้คุณมีฐานะที่มั่นคงในอนาคตได้ และผมก็ยังขอยืนยันคำเดิม ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณจะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน

ความรู้ทางทฤษฏี
          โดยความเข้าใจของคนทั่วไป มักจะเข้าใจวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นความรู้ทางทฤษฏี จริง ๆ แล้วเป็นเพียงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในการอบไอน้ำวัสดุเพาะเห็ด บางตำราให้อบไอน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศา เป็นเวลา 4-6 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 65 องศา เป็นเวลา 4-5 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 70 องศา เป็นเวลา 2-4 ช.ม ถามว่าแล้วอันไหนถูก อันไหนผิด ตอบว่าถูกทั้งหมดครับ
          ในการเพาะเลี้ยงเห็ดจะต้องมีการหมักวัสดุเพาะ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของกองวัสดุเพาะ ความสูงของการกองวัสดุเพาะ ความหนาของการกองวัสดุเพาะ ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเพาะ มีผลต่ออุณหภูมิของกองวัสดุเพาะ หากคุณกองวัสดุเพาะและวัดอุณหภูมิได้เท่าใด คุณต้องอบไอน้ำให้ได้เท่านั้น บวกกับ 10 องศา เพื่อให้ราที่เกิดในวัสดุเพาะอ่อนแอลงเป็นอาหารให้กับเห็ดฟาง หากคุณอบไอน้ำน้อยกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราเหล่านี้ยังแข็งแรงและจะกินเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหาร หากคุณอบไอน้ำมากกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราอาหารเห็ดอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถจะแพร่ขยายต่อไปจะทำให้เห็ดฟางที่จะเก็บในรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 มีขนาดดอกเล็กและน้อยลง เพราะขาดอาหาร
          ส่วนระยะเวลาในการอบไอน้ำ ถ้าคุณวางแผนจะเก็บดอกเห็ดแค่รอบแรกแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ คุณก็อบแค่ 2-3 ช.ม. ก็พอ หากคุณคิดจะเก็บรอบสองหรือสามด้วย ก็ต้องอบไอน้ำให้นานขึ้นไม่เช่นนั้น เห็ดอื่นจะขึ้นงามกว่าเห็ดฟางในการเก็บเห็ดรอบหลัง ๆ เหล่านี้เป็นความรู้ทางทฤษฏีที่คุณต้องรู้ ไม่เช่นนั้น คุณก็จะเพาะเห็ดได้มากบางน้อยบาง ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความสูงและความหนาของกองวัสดุเพาะ จำนวนวันในการหมักวัสดุเพาะ ของแต่ละครั้ง ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ
          พูดแบบนี้เกษตรกรบางท่านคงพอจะเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนจึงทำแบบเดียวกับเราแล้วได้ผลผลิตที่ดี แต่ทำไมเราทำแบบเดียวกับเขาไม่ได้ผลเหมือนกัน
          ในการอบรมการเพาะเลี้ยงหรือคำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ไม่มีผู้ใดให้รายละเอียดเหล่านี้ เพราะจะทำให้ดูยุ่งยาก และเสียเวลาในการอบรม ทำให้เกษตรกรดูยากไม่อยากเพาะเลี้ยง
ที่กล่าวนี้เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับอุณหภูมิและระยะเวลาในการอบไอน้ำเท่านั้นนะครับ จริงแล้วในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติทุกขั้นตอนมีเหตุผลของการปฏิบัติอยู่ ถ้าคุณรู้เหตุผลมันก็ไม่มีอะไรเป็นปัญหาให้คุณ แต่ถ้าคุณไม่รู้ ปัญหาของคุณก็ยังวนเวียนเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ได้แก้ไข